บ้านเดิมเจ้า

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔



ขุดลอกเหมืองสาธารณะประโยชน์ รองรับเหตุอุทกภัย



ประชุมจัดทำแผนรับมือช่วงเกิดอุทกภัย ร่วมกับ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าเว


ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าเว ปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนสายไชยา-ปากหมาก


จัดทำแผนพัฒนาตำบล ร่วมกับศูนย์กศน.ไชยา



ประชุมเตรียมความพร้อม รับเหตุอุทกภัย กับองค์การบริหารส่วนตำบลป่าเว


ประชุมแนวเขตทรัพยากรป่าไม้





ร่วมกับชาวบ้านเดิมเจ้า ร่วมรื้อสิ่งกีดขวางในคลองไชยา และบริเวณคอสะพานบ้านเชิงทึง


รับมอบยาชุดสามัญประจำบ้าน มอบให้ผู้ประสบอุทกภัย จาก ผอ.รพ.สต.ป่าเว



พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ณ วัดพระบรมธาตุไชยา

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความท้าทายและโอกาส ของไทยในประชาคมอาเซียน

คู่มือ 'ทำผ้าอนามัย ส้วม หุ้มรถ ขนตู้เย็น อุดบ้าน น้ำดื่ม' รอดตายน้ำท่วม

 
  ตื่นตัวกันมากขึ้น เพราะน้ำเริ่มใกล้ตัวเข้ามาทุกที ในสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์ก เลยหาวิธีเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมให้ทุกคนได้ลองนำไปใช้ เพื่อการป้องกันทรัพย์สินที่อาจจะถูกน้ำทำความเสียหาย รวมไปถึงวิธีการอยู่รอดหลายแบบ ที่สามารถช่วยคุณได้ในยามคับขัน

ใครว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กจะมีแต่เรื่องไร้สาระเสมอไป เรื่องดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมก็มีให้เห็นไม่น้อยทีเดียว อย่างช่วงนี้สถานการณ์น้ำท่วมที่ยังลุ้นๆ กันอยู่ว่าบ้านใครจะท่วม ไม่ท่วม หรือท่วมไปแล้ว ก็มีเทคนิคการเตรียมความพร้อมรับมือกับน้ำท่วมที่ใกล้ตัว เพื่อความอยู่รอดของชีวิตและทรัพย์สิน วันนี้ 'ไทยรัฐออนไลน์' ได้รวบรวมเทคนิคต่างๆ ไว้เป็นคู่มือกันภัยน้ำท่วมที่ในโซเชียลเน็ตเวิร์กได้แชร์กันไว้หลายวิธี

เตรียมความพร้อมด้วยกระเป๋ายังชีพ

จัดแจงให้ดูแบบละเอียดยิบที่เว็บไซต์ของเครือข่ายจิตอาสา ซึ่งเตือนผู้ที่กำลังจะเจอน้ำท่วมเตรียมแพ็กของสำคัญใส่กระเป๋ายังชีพก่อน เพราะต้องพกติดตัวในยามจำเป็น ซึ่งสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมนั้นก็มีทั้งไฟฉาย, ถ่านสำรอง, มีดพับ, เป้พับ, แว่นขยาย, ไฟแช็ก, เชือกร่มยาวประมาณ 5 เมตร, พาราเซตามอล, ยาหม่องน้ำ, ของใช้สำหรับทำความสะอาดร่างกาย, ถุงกันน้ำ, ถุงขยะ, ถุงพลาสติก, นกหวีด, เสื้อกันฝน, หมวก, เสื้อผ้าสำรอง 2-3 ชุด, และผ้าเช็ดตัว ทั้งหมดนี้จะใส่กระเป๋าเป้ด้วยวิธีใดก็ตาม แต่ห้ามลืมแม้แต่อย่างเดียว

ข้อมูลจาก www.volunteerspirit.org

ป้องกันคอมพิวเตอร์จากน้ำท่วม

ของคู่ใจอย่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งโทรศัพท์, โน้ตบุก, ไอแพด อาจเคลื่อนย้ายได้สะดวกเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม แต่สำหรับคอมพิวเตอร์แบบพีซีแล้ว สิ่งที่ต้องรีบทำที่สุดก็คือขนย้ายขึ้นไว้ในที่สูง เช่นหลังตู้เสื้อผ้าหรือชั้นสองของบ้านเพื่อความปลอดภัย แต่ถ้าในบ้านน้ำท่วมสูงจนอยู่ไม่ได้ การขนย้ายคอมพิวเตอร์ออกต้องหาถุงพลาสติกที่แน่ใจว่าไม่มีรอยรั่วให้น้ำเข้ามาได้ จากนั้นคุลมทับให้เรียบร้อย และระหว่างขนย้ายอดทนยกไว้สูงเหนือหัวเพื่อไม่ให้ถูกน้ำ โดยเฉพาะที่ปลั๊กไฟ เพื่อความปลอดภัย และกันความเสียหายที่จะตามมา

ข้อมูลจาก www.manacomputers.com/how-to-computers-protect-from-flood-damage

แปลงร่างถุงยังชีพเป็นเสื้อชูชีพ

ครอบครัวไหนที่มีเด็กเล็ก สัตว์เลี้ยง หรือตัวคุณเองว่ายน้ำไม่ค่อยเก่ง แต่ดันต้องมาเจอกับน้ำท่วมที่สูงเกินกว่าเท้าจะแตะถึงพื้น ก็ต้องเตรียมเสื้อชูชีพให้พร้อม เพื่อความปลอดภัย แต่ถ้าเสื้อมีไม่พอลองหากระบอกน้ำเปล่ากับถุงยังชีพที่ได้รับบริจาค มาประดิิษฐ์กันก็ได้ เทคนิคนี้คุณตัน อิชิตัน ก็ทำไว้บริจาคผู้ประสบภัย และใช้ได้ผลมาทุกรายแล้ว
หุ้มรถด้วยพลาสติกกันน้ำ

เทคนิคนี้เชื่อว่าค่ายรถชื่อดังได้เอามาแชร์ไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่กำลังกังวลว่าจะปกป้องพาหนะคู่ใจยังไงดี  แต่เห็นแล้วคงต้องขอความช่วยเหลือหลายคนมาช่วยกัน เพราะขนาดของรถยนต์ก็ไม่ใช่เล็กๆ ถึงจะง่ายเหมือนการห่อสิ่งของทั่วไป  แต่วิธีนี้ก็ถือเป็นไอเดียใหม่ๆ ที่อาจจะช่วยปกป้องทรัพย์สินของคุณได้บ้าง  ยังดีกว่าปล่อยให้รถจมน้ำไปต่อหน้าต่อตา โดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย
กลั่นน้ำดื่มฉุกเฉิน

นอกจากอาหารแห้ง และของใช้ในกระเป๋ายังชีพที่ต้องมีแล้ว น้ำดื่มก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการดำรงชีวิต แต่ภาวะน้ำท่วมแบบนี้จะหาน้ำสะอาดมาใช้ทั้งอุปโภคและบริโภคนั้นค่อนข้างขาดแคลนมาก ยิ่งถ้าถูกติดเกาะอยู่แต่ในบ้านด้วยแล้ว ก็ต้องรีบมาดูวิธีการกลั่นน้ำไว้ใช้เองในยามฉุกเฉินที่แชร์กันในโซเชียลเน็ตเวิร์กนี้ไว้ เพราะมันมีประโยชน์ต่อคุณมากเลยล่ะ โดยขั้นตอนในการกลั่นน้ำดื่มนั้น เริ่มจากตักน้ำที่ท่วมใส่กะละมัง จากนั้นนำแก้ววางไว้กลางกะละมัง และนำถุงปิดครอบปากกะละมังมัดให้แน่น เสร็จแล้วเอาก้อนหินวางทับด้านบนให้ตรงกับปากแก้วก่อนนำไปตากไว้กลางแดด เพื่อให้น้ำกลั่นตัวเป็นน้ำสะอาด เพียงเท่านี้ก็มีน้ำไว้ใช้แล้ว

อุดบ้านด้วยแผ่นโพลีคาร์โบเนต

โดยทั่วไปส่วนใหญ่เวลารู้ว่าน้ำจะท่วมบ้าน การป้องกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ภายในบ้านที่นิยมมากที่สุดก็คือการนำถุกระสอบทรายมากั้น และการก่ออิฐบล็อกโบกปูน แต่วิธีใหม่ล่าสุดที่ทาง www.pantip.com โพสต์ไว้ ถือว่าเข้าท่าทีเดียว กับการนำแผ่นโพซีคาร์โบเนตมาปิดทับบริเวณช่องประตูที่น้ำสามารถเล็ดลอดเข้าในบ้าน จากนั้นก็นำกาวที่ใช้สำหรับอุดท่อพีวีซีมายิงทับให้แน่นหนา ซึ่งดูจากภาพขั้นตอนการทำแล้วไอเดียนี้น่าลองไปใช้

เทของคว่ำตู้เย็น

อีก 1 เคล็ดลับที่ในเฟซบุ๊กได้นำมาแชร์ไว้สำหรับการป้องกันความเสียหายของเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะตู้เย็น เพราะมีขนาดใหญ่ ขนย้ายลำบาก ยิ่งถ้าบ้านไหนมีพื้นที่ไม่พอจะขนย้ายของขึ้นชั้นบนต้องเตรียมขนย้ายไปที่อื่น  ลองนำวิธีนี้ไปใช้กันดู เพียงแค่เอาของที่อยู่ในตู้เย็นออกให้หมด จากนั้นจัดการปิดประตูใช้เชือกมัดให้เรียบร้อยแล้วคว่ำหน้า เพียงเท่านี้เวลาน้ำมาต่อให้มีระดับสูงแค่ไหน ตู้เย็นก็จะลอยและไม่พัง

ผ้าอนามัยD.I.Y

ถึงขั้นวิกฤติหนักติดเกาะจนไม่สามารถออกจากบ้านได้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่ดันต้องมาเจออุปสรรคสำคัญอย่างการมีประจำเดือนมาด้วย ยิ่งลำบาก เพราะจะหาซื้อผ้าอนามัยก็คงยากเหลือเกิน  อีก 1 ไอเดียที่มาจาก FM.MET 107 ได้เอามาแชร์กันก็คือการประดิษฐ์ผ้าอนามัยไว้ใช้ฉุกเฉิน โดยอุปกรณ์ที่จำเป็น ก็ล้วนแต่เป็นของใกล้ตัวเช่น เสื้อยืดแขนยาว, กระดาษทิซชู, กรรไกร และเทปกาว ซึ่งขั้นตอนการทำนั้นเริ่มจาก ตัดแขนเสื้อให้ได้ขนาด 15-20 ซม. จากนั้นทำกระดาษทิซชูทับซ้อนกันหลายๆชั้น และนำไปสอดไว้ในแขนเสื้อ จากนั้นนำเทปกาวสอดแปะด้านใน โดยให้อีกด้านยื่นออกมาสำหรับแปะกับกางเกงชั้นในได้ทั้ง 2 ด้าน เพียงเท่านี้ก็จะได้ผ้าอนามัยไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ที่สามารถถอดซักได้ด้วย

ส้วมฉุกเฉิน

เรื่องห้องน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ยิ่งผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ไม่มีห้องน้ำชั้นบนของบ้าน หรือต้องออกมาอาศัยอยู่ตามศูนย์อพยพที่อาจหาห้องน้ำสำหรับปลดทุกข์ด้วยแล้ว ยิ่งต้องรีบเตรียมความพร้อม จัดการประดิษฐ์สุขาฉุกเฉินไว้ใช้จะดีกว่า ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ทำมีดังนี้คือ เก้าอี้พลาสติก นำมาเจาะรูตรงกลางเพิ่ม, ถุงดำขนาด 30x40 นิ้ว, จุลินทรีย์ EM สำหรับดับกลิ่น 1 ขวด, กระดาษทิซชู, ตัวหนีบ 4 ตัว และยางรัด

โดยเริ่มแรกให้นำถุงดำใส่ลงในช่องเก้าอี้ที่เจาะรูไว้ จากนั้นคลี่ปากถุงด้านบนพับเข้ากับขอบที่นั่งของเก้าอี้ให้ตึงและยึดด้วยตัวหนีบ เพียงเท่านี้ก็มีส้วมฉุกเฉินไว้ใช้เป็นของส่วนตัวแล้ว แต่ทั้งนี้เมื่อปลดทุกข์เสร็จเรียบร้อย ให้เทผง EMลงไป 1 ช้อนชา ตามด้วยน้ำ 1 ถ้วย จากนั้นปิดด้วยฝาให้สนิท เมื่อถึงเวลาต้องนำไปเก็บทิ้งให้ไล่อากาศในถุงออกให้หมดเพื่อประหยัดเนื้อที่ทิ้งขยะ จากนั้นมัดปากถุงให้แน่นและนำไปทิ้ง

การป้องกันและอยู่กับสถานการณ์ที่คับขันแบบนี้อย่างมีสติ คงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด เพราะตอนนี้ก็คงเอาแน่เอานอนไม่ได้ ว่าจะต้องมีอีกกี่เขตในกรุงเทพมหานคร ที่ต้องรับสภาพน้ำเอ่อนอง สิ่งที่ควรคิดก็คือการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อความอยู่รอดและปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า



ขอบคุณ Twitter : Sriploi_social
                โดย: ทีมข่าวไลฟ์สไตล์
                22 ตุลาคม 2554, 08:00 น.
 

 

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มติคณะรัฐมนตรี เพิ่มเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุแบบขั้นบันได

 

  ครม.อนุมัติงบ 5.2 หมื่นลบ.จ่ายเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุแบบขั้นบันได

 
           ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติอนุมัติงบ 5.2 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นเงินอุดหนุนแผนงานสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อจ่ายเป็นเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 หรือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.54 เป็นต้นไป ซึ่งได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มจากปีก่อนกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท
โดยกำหนดอัตราแบบขั้นบันไดให้

ผู้มีอายุ 60-69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพเดือนละ 600 บาท,
          อายุ 70-79 ปี ได้เดือนละ 700 บาท
          อายุ 80-89 ได้เดือนละ 800 บาท
          และอายุ 90 ปีขึ้นไปได้เดือนละ 1,000 บาท

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กับสุราษฎร์ธานีโมเดล การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ

                       อุทกภัยในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม - 15 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา สร้างความเสียหาย ให้อย่างมหาศาล เรียกว่าร้ายแรงที่สุดในรอบ 70 ปี พื้นที่ทั้ง 19 อำเภอถูกน้ำท่วมพร้อมกันอย่างรุนแรง สร้างความเสียหายเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด เพราะเป็นเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นขณะที่พื้นที่ภาคใต้อยู่ในช่วงหน้าร้อน ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ที่ชาวใต้รับรู้และคุ้นเคยกับสภาพอากาศเช่นนี้ ว่าในหน้าร้อนจะต้องเผชิญกับความแห้งแล้ง และเมื่อถึงหน้าฝน ต้องรับมือกับมรสุม ความคุ้นเคยทำให้ละเลยสัญญาณที่ธรรมชาติพยายามเตือนมาตลอดในช่วงระยะเวลา หลายปีที่ผ่านมา ว่า โลกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วจะด้วยสภาพอันเป็นปกติของธรรมชาติเอง หรือน้ำมือของมนุษย์
การเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่นี้เป็นการเกิดขึ้นครั้งที่ 2 ภายในห้วงเวลาห่างกันเพียง 4 เดือน  เพราะก่อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายน 2553 พื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี เพิ่งผ่านพ้นเหตุการณ์น้ำท่วมที่เป็นเหตุการณ์ปกติของภาคใต้ในหน้ามรสุม         นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าในปลายเดือนมีนาคมปี พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นฤดูร้อน จะกลายเป็นช่วงเวลาที่
จ.สุราษฎร์ธานี จมมิดอยู่ใต้บาดาล ด้วยฤทธิ์ของอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 7 ทศวรรษ บทเรียนจากภัยพิบัติ แต่สามารถเอาชนะ และฟื้นฟูความเสียหายของบ้านเมืองได้ในเวลารวดเร็วนั้นมาจากความร่วมมือร่วม ใจประสานการปฏิบัติทั้งในส่วนภาครัฐ เอกชน และประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ จนช่วยเหลือฟื้นฟูความเสียหายของบ้านเมืองได้ในเวลาอันรวดเร็ว และในโอกาสที่จังหวัดได้ผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายดังกล่าว เพื่อให้เกิดการป้องกัน ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติได้มีผลสำเร็จแบบยั่งยืน จึงได้บูรณาการแนวทางการปฏิบัติที่ผ่านมา และแนวทางนโยบายการป้องกันการแก้ไขปัญหาตามนโยบายของรัฐบาล คือ 2P2R เพื่อเล็งถึงประโยชน์ต่อบ้านเมืองและประเทศชาติในวันข้างหน้า คณะผู้บริหารจังหวัดสุราษฎร์ธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้รวบรวมแผนงานที่เรียกว่า สุราษฎร์ธานีโมเดล หรือแผนบูรณาการการปฏิบัติงานสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน
สำหรับหลักการที่ จ.สุราษฎร์ธานีเร่งดำเนินการเพื่อรับมือกับภัยพิบัติในอนาคต จึงอยู่ภายใต้กรอบวาระแห่งชาติ  2P2R ที่รัฐบาลได้มอบหมายให้ทุกจังหวัดใช้วาระดังกล่าวเป็นแผนแม่บทในการทำ งานบริหารจัดการรับมือพิบัติภัยธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการที่ จ.สุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา ดังนี้ P ที่ 1 การเตรียมการ เตรียมการด้านข้อมูลและแผนด้านการสื่อสาร ด้านทรัพยากร และด้านการประชาสัมพันธ์  R ที่ 1 การเผชิญเหตุ มีการจัดตั้งระบบ ICS ที่มีศูนย์ปฏิบัติการร่วมกัน ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน การกำหนดให้มีศูนย์สั่งการเพียงศูนย์เดียว การช่วยเหลือประชาชนด้านชีวิต ทรัพย์สิน การควบคุมสถานการณ์เป็นลำดับแรก และการประชาสัมพันธ์ในภาวะฉุกเฉิน ที่มีการปฏิบัติงานในลักษณะบูรณาการ วันสตอปเซอร์วิส (One Stop Service) R ที่ 2 การฟื้นฟู ให้ฟื้นฟูความเสียหาย และการจัดลำดับความเร่งด่วนในการฟื้นฟู เช่น แหล่งสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน และการลดภาระทางการเงินของผู้ประสบภัย  P ที่ 2 การป้องกันในระยะยาว ให้
บูรณาการการบริหารจัดการน้ำครบวงจร เช่น แก้มลิง ระบบระบายน้ำ การขุดคูคลองสายต่าง ๆ และระบบการกักเก็บน้ำ
โดยในส่วนของการปฏิบัติการก่อนเกิดภัยนั้น จังหวัดได้ผ่านขั้นตอนดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ การรวบรวมพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ปลอดภัย เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยเหลือ รวมถึงช่องทางการสื่อสารระหว่างรัฐและประชาชนซึ่ง จ.สุราษฎร์ธานี ได้ใช้เครือข่ายโทรทัศน์และวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์เป็นแม่ข่ายในการแจ้ง ภัย นอกจากนั้นยังมีความพร้อมของหน่วยกู้ภัยที่สนธิกำลังรวมกันระหว่างภาครัฐและ เอกชนไม่น้อยกว่า 5,000 คน ก่อนถูกนำไปจำลองเหตุการณ์
ผวจ.สุราษฎร์ธานี กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในมุมมองของโมเดล เป็นการแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมจะมี 2 ปัจจัย คือ น้ำกับ มนุษย์และทั้ง 2 ปัจจัยนี้ต้องอยู่รวมกัน ผู้คนส่วนใหญ่มองว่ามนุษย์สามารถบริหารจัดการธรรมชาติได้ และแยกบริหารว่าน้ำก็อยู่ส่วนน้ำ คนก็อยู่ส่วนคน ความเป็นจริงเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นไปของโลกได้ และไม่สามารถแยกน้ำออกจากชีวิตคน ในสถานการณ์ภัยพิบัติ และอุทกภัยที่สุราษฎร์ธานี เมื่อต้นปี 2554 คณะผู้บริหารจังหวัดได้แก้ไขปัญหาโดยปรับงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์จังหวัดปี 2554 เพื่อให้ทันกับการเตรียมการในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และอาจจะเกิดขึ้นได้อีกในช่วงปลายปี 2554 โดยการตั้งงบประมาณไว้ราว 10 ล้านบาท เพื่อการจัดการศึกษาข้อมูล พื้นที่ ภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ปริมาณน้ำ และทิศทางการไหลของน้ำเข้าสู่พื้นที่ประสบอุทกภัยตามเหตุการณ์ที่เกิดจริง ขั้นสุดท้ายผลการศึกษานี้จะทำให้ทราบว่าต้องเตรียมการ เผชิญเหตุ ฟื้นฟู และป้องกันระยะยาวอย่างไร ซึ่งก็คือนโยบาย 2P2R
นายธีระยุทธ กล่าวด้วยว่า สุราษฎร์ธานีโมเดล จะเป็นคู่มือลงสนามรบโดยไม่ต้องกางแผนที่ในภาวะวิกฤติ เป็นแม่แบบของ แผนปฏิบัติการ ที่สามารถเข้าถึงและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง มุ่งเป้าไปที่การสร้างความอุ่นใจ ช่วยพิทักษ์ทรัพย์สินของประชาชนและจังหวัดให้ปลอดภัย ฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะ และระบบสาธารณูปโภคให้ใช้การได้โดยไว ที่สำคัญคือการฟื้นฟูจิตใจของประชาชนผู้ประสบภัย โดยแบ่งการทำงานเป็น 3 ระยะ คือระยะสั้น ระยะกลาง  ระยะยาว และมีแผนกิจกรรมข่าวสาร เพื่อจัดหาทุนสนับสนุนในการดำเนินงานจากองค์กรต่าง ๆ อาทิ ภาครัฐ ภาคประชาชน อันเป็นการแก้ปัญหางบประมาณ จากทางภาครัฐที่มีจำกัด และสามารถฟื้นฟูบ้านเมืองได้อย่างต่อเนื่องที่เป็นระบบแน่นอน
ผมคิดว่า วันนี้ถึงเวลาแล้วที่ มนุษย์ ทุกคนควรย้อนคิดว่า ธรรมชาติที่ร้ายแรงนั้นได้ให้บทเรียนอะไรกับมนุษย์บ้าง ธรรมชาติคือผู้ทำร้ายมนุษย์จริงกระนั้นหรือ... หรือมนุษย์ต่างหากที่เป็นผู้ทำร้ายธรรมชาติ...เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ เปลี่ยนวิถีชีวิตให้รอดพ้นจากภัยธรรมชาติ แทนการต่อสู้กับธรรมชาติ”  นายธีระยุทธ กล่าว

ข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th  ข่าวภูมิภาค ประจำวันที่ 19 ต.ค. 54



น้ำท่วมภาคไต้ การวิเคราะห์ทางวิทยาศาตร์ ที่เราต้องฟัง



ฝนตกหนัก น้ำไหลแรง กินเวลานาน ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่อุทกภัยแบบเดิมที่ประเทศไทยเคยเจอเมื่ออดีต  อีกทั้งผลกระทบที่ทวีความรุนแรงไม่ว่าทั้งด้านจิตใจ พืชสวนไร่นาเสียหายนับหมื่นไร่ แม้จะรู้อยู่ว่าเป็นภัยธรรมชาติแต่ในเชิงวิทยาศาสาตร์สามารถให้ความกระจ่างได้ว่าน้ำท่วมและความรุนแรงขณะนี้ก่อตัวมาได้อย่างไร
   
 
ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำวิชาธรณี  คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ว่า ย้อนไปเมื่อปีที่แล้ว สภาพการแปรปรวนของภูมิอากาศแบบผกผัน ก่อให้เกิดสภาพฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล รูปแบบฝนตกได้เปลี่ยนไปจากอดีตอย่างมาก กล่าวคือ จะตกครั้งละมาก ๆ บางครั้งฝนตกมาครั้งหนึ่งมากกว่าฝนตกเฉลี่ยทั้งปีเสียด้วยซ้ำไป บางที่มีฝนตกเป็นเวลาหลายวันต่อเนื่อง แต่บางครั้งฝนก็ทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ๆ หรือบางพื้นที่ไม่น่าจะมีฝนตกในบางช่วงเวลากลับมีฝนตกหนักแบบไม่ลืมหูลืมตาทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม  อย่างเช่น น้ำท่วมพื้นที่ปากช่อง ในปี พ.ศ.2553 หรือน้ำท่วมภาคใต้เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้น
   
จากการศึกษาแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานด้านกรมอุตุนิยมวิทยาชั้นนำของโลก พบว่าในอนาคตสภาพความแปรปรวนของภูมิอากาศจะมีความถี่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งคงก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม พายุโซนร้อน พายุฤดูร้อน แผ่นดินถล่ม ไฟป่าและหลุมยุบเกิดขึ้นกับประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว ส่งผลให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะการแก้ปัญหาน้ำท่วมของประเทศไทยขณะนี้ ยิ่งแก้ไขก็ยิ่งเหมือนไปเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นให้กับพื้นที่ท้ายน้ำอยู่เสมอและยังสร้างความขัดแย้งมากขึ้นในสังคม ทั้งประชาชนที่มีระบบป้องกันและไม่มีระบบป้องกัน ชุมชนเมืองและชุมชนภาคเกษตรกร เป็นต้น
   
ความแปรปรวนของภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปีนี้เกิดขึ้นเร็วและรุนแรงเหนือความคาดหมายจากเดิมเมื่อกลางปี พ.ศ. 2553 ที่พบว่าปรากฏการณ์ ลานินญ่ากระหน่ำประเทศไทยส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมหนักทั้งภาคอีสาน เหนือ กลาง และที่หนักที่สุดคือภาคใต้ แต่จากการศึกษาเรื่องพายุที่มีจุดก่อกำเนิดในทะเลจีนใต้กับปรากฏการณ์ลานินญ่าของปี พ.ศ. 2554 พบว่ามีข้อมูลบ่งชี้ว่า สถานการณ์น้ำท่วมของภาคใต้จากนี้ไป 2-4 เดือน (ต.ค 54-ม.ค. 55 )น่าเป็นห่วงมาก มีแนวโน้มสูงที่ภาคใต้และอำเภอหาดใหญ่จะเผชิญกับฝนตกหนักจากลานินญ่า เหมือนในปี พ.ศ. 2518, 2531, 2543 และอาจจะมีพายุพัดถล่มเหมือนในปี พ.ศ. 2505 ที่แหลมตะลุมพุก ปี พ.ศ. 2532 พายุเกย์ที่ จ.ชุมพร และเมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 รวมทั้งเรื่องแผ่นดินถล่มก็เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้และอาจจะเป็นมหากาพย์อุทกภัย ปี พ.ศ. 2554” ของภาคใต้อีกปีหนึ่ง
   
 
อ.ธนวัฒน์ กล่าวอีกว่า ฝนที่ตกแรงและถี่ขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะรูปแบบการก่อตัวของลานินญ่าเปลี่ยนจากทุก 4.6 ปี เหลือ 3 ปี รวมทั้งปรากฏการณ์เอลนินโญ่ที่เปลี่ยนไป จาก 3 ปีต่อครั้งเวียนรอบมาเหลือ 1.6 ปีต่อครั้ง ประกอบกับการก่อตัวของพายุในทะเลจีนใต้จากเดิมก่อตัวในแถบทะเลลึกแต่ปัจจุบันก่อตัวในแถบชายฝั่ง จากสถิติเมื่อปีที่ผ่านมาพบพายุที่ก่อตัวในแถบชายฝั่ง 11 ลูก พายุเหล่านี้เข้ามาเติมปริมาณน้ำฝนเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าในอนาคตเราจะต้องเผชิญกับอุบัติภัยน้ำท่วมถี่และบ่อยขึ้น แต่ถ้าเทียบระหว่างประเทศแล้วประเทศไทยถือว่าโชดดีที่จะเจอแต่หาง ๆ ของพายุเพราะมีประเทศที่รับช่วงหัวไปเต็ม ๆ แล้วคือ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม แต่ช่วงเปลี่ยนฤดูจากฝนเป็นหนาวในเดือนตุลาคมนี้ภาคใต้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ประกอบอิทธิพลของลานินญ่า เชื่อว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้ภาคใต้เกิดน้ำท่วมหนักเหมือนเมื่อครั้งอดีต
   
กรุงเทพฯเคยประสบปัญหาน้ำท่วมรุนแรงสุดเมื่ออดีตคือปี 2518 มีหลักฐานภาพถ่ายชาวบ้านพายเรืออยู่ในย่านสนามหลวง และครั้งใหญ่ล่าสุดในปี 2538 ปีนั้นอยู่ในปรากฏการณ์เอลนินโญ่ แต่หลังจากนั้นกรุงเทพฯเริ่มคลี่คลายจากปัญหาน้ำท่วมส่วนหนึ่งเพราะกทม.ได้เริ่มสร้างเขื่อนริมน้ำเจ้าพระยา แต่กลับกลายเป็นว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง เช่น อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาทต้องเจอปัญหาน้ำท่วมหนักขึ้น ในประเด็นนี้ อ.ธนวัฒน์ บอกว่าการสร้างเขื่อนกั้นน้ำไม่ได้เป็นวิธีป้องกันน้ำท่วมทั้งระบบ จะส่งผลให้น้ำไปท่วมที่ใดที่หนึ่งแทน ยกตัวอย่างเช่น วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์น้ำท่วมอย่างรวดเร็วภายใน 3 ชั่วโมง ผลจากต่างคนต่างสร้างเขื่อนริมน้ำเมื่อ กทม. ทำเขื่อนกั้นจังหวัดไหนที่มีงบประมาณก็ทำบ้าง ส่วนประเด็นเขื่อนกักเก็บน้ำ เป็นอีกประเด็นที่ไม่ได้เป็นตัวช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วม สังเกตว่าในปีนี้พื้นที่แนวเขตการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นกลับไม่เจอปัญหาน้ำท่วมรุนแรงทั้งที่ปีนี้มีปริมาณฝนมาก
   
ปัจจุบันเขื่อนเก็บน้ำที่สร้างมาตั้งแต่ปี 2500 หรือ 50 ปีที่ผ่านมามีตะกอนดินจมอยู่ใต้เขื่อน 40-50 เปอร์เซ็นต์ เป็นเพราะมีการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้น แผ่นดินถล่ม แต่การกักเก็บน้ำยังใช้ตัวเลขเดิม อีกทั้งเขื่อนยังก่อให้เกิดพลังงานศักย์ น้ำที่ปล่อยลงมาจากที่สูงเมื่อไหลออกมาจึงมีความแรงเป็นพลังสึนามิน้อย ๆ จะสังเกตว่าทำไมน้ำท่วมปีนี้น้ำจึงแรง เรือล่ม เพราะน้ำมีพลังงานศักย์นักวิชาการคนเดิมระบุ
   
อย่างไรก็ตาม ดร.ธวัฒน์ให้ข้อเสนอแนะแผนเร่งด่วนสำหรับการรับมือการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมว่า ควรปรับระบบเตือนภัยให้ทันเวลา เร่งวางแผนแม่บทการจัดการน้ำเพื่อวางแผนด้านการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำต้องมีประกาศแจ้งให้เก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรก่อน สำหรับกรุงเทพมหานครเสนอว่าควรมีแผนระยะยาวในการสร้างเส้นทางด่วนระบายน้ำ นอกจากนี้ควรมีมาตรการทางภาษีจัดเก็บภาษีสำหรับคนที่ไม่ประสบภัยน้ำท่วมเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยอีกทั้ง ในพื้นที่รับน้ำต้องปล่อยไว้ห้ามก่อตั้งชุมชน หรือการใช้ภาษีทางอ้อมเช่นปัจจุบันโรงงานในพื้นที่บางบาลเกิดขึ้นจำนวนมาก เพราะราคาที่ดินถูกเนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำ ลักษณะนี้ควรออกมาตรการทางภาษีอุตสาหกรรมที่ไปตั้งอยู่ในพื้นที่รับน้ำต้องเสียภาษี 10 เท่า 
   
แผนระยะยาวอีกด้านกรุงเทพมหานครควรหยุดการเจริญเติบโตของเมืองไว้แค่นี้แต่ไปพัฒนาเมืองบริวาร อาทิ ราชบุรี สุพรรณบุรี สระบุรี เป็นต้น โดยภาครัฐต้องสร้างระบบขนส่งเพื่อรองรับการเดินทางไว้ควบคู่กัน.

ขอบคุณ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประเพณีชักพระ-ทอดผ้าป่า อำเภอไชยา ประจำปี 2554



ประเพณีชักพระ(ลากพระ)

                ประเพณีชักพระเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมายังโลกมนุษย์  พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง
                                ประวัติความเป็นมา
                                ประเพณีชักพระเป็นประเพณีทพราหมณ์ศาสนิกชนและพุทธศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมา  สันนิษฐานว่าประเพณีนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ที่นิยมเอา เทวรูปออกแห่ในโอกาสต่าง ๆ  ต่อมาพุทธศาสนิกชนได้นำเอาคติความเชื่อดังกล่าวมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา  ประเพณีชักพระเล่ากันเป็นเชิงพุทธตำนาน ว่า หลังจากพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหารย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี แล้วได้เสร็จไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา ซึ่งขณะนั้นทรงจุติเป็นมหามายาเทพ สถิตอยู่ ณ ดุสิตเทพพิภพตลอดพรรษา พระพุทธองค์ทรงประกาศพระคุณของมารดาแก่เทวสมาคมและแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา 7 คัมภีร์ จนพระมหามายาเทพและเทพยดา ในเทวสมาคมบรรลุโสดาบันหมด ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันสุดท้ายของพรรษา พระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมนุษยโลกทางบันได ทิพย์ที่พระอินทร์นิมิตถวาย บันไดนี้ทอดจากภูเขาสิเนนุราชที่ตั้งสวรรค์ ชั้นดุสิตมายังประตูนครสังกัสสะ ประกอบด้วยบันไดทอง บันไดเงินและบันไดแก้ว บันไดทองนั้นสำหรับเทพยดา มาส่งเสด็จอยู่เบื้องขวาของพระพุทธองค์ บันไดเงินสำหรับพรหมมาส่งเสด็จอยู่เบื้องซ้ายของพระพุทธองค์ และบันไดแก้วสำหรับพระพุทธองค์อยู่ตรงกลาง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ประตูนครสังกัสสะตอนเช้าตรู่ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนที่ทราบกำหนดการเสด็จกลับของพระพุทธองค์จากพระโมคคัลลานได้มารอรับเสด็จ อย่างเนืองแน่นพร้อมกับเตรียมภัตตาหารไปถวายด้วย แต่เนื่องจากพุทธศาสนิกชนที่มารอรับเสด็จมีเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถจะเข้าไปถวายภัตตาหารถึงพระพุทธองค์ได้ทั่วทุกคน จึงจำเป็นที่ต้องเอาภัตตาหารห่อใบไม้ส่งต่อ ๆ กันเข้าไปถวายส่วนคนที่อยู่ไกลออกไปมาก ๆ จะส่งต่อ ๆ กันก็ไม่ทันใจ จึงใช้วิธีห่อภัตตาหารด้วยใบไม้โยนไปบ้าง ปาบ้าง ข้าไปถวายเป็น ที่โกลาหล โดยถือว่าเป็นการถวายที่ตั้งใจด้วยความบริสุทธิ์ด้วยแรงอธิษฐานและอภินิหารแห่งพระพุทธองค์ ภัตตาหารเหล่านั้นไปตกในบาตรของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น เหตุนี้จึงเกิด ประเพณี "ห่อต้ม" "ห่อปัด" ขึ้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความปิติยินดีที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชน ได้อัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้ แล้วแห่แหนกันไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ ครั้นเลยพุทธกาลมาแล้วและเมื่อมีพระพุทธรูปขึ้น พุทธศาสนิกชนจึงนำเอาพระพุทธรูปยกแห่แหนสมมติแทนพระพุทธองค์
                                  เรือพระ
                                 เรือพระ คือ รถหรือล้อเลื่อนที่ประดับตกแต่งให้เป็นรูปเรือแล้ววางบุษบก ซึ่งภาษาพื้นเมืองของภาคใต้เรียกว่า "นม" หรือ "นมพระ" ยอดบุษบก เรียกว่า "ยอดนม" ใช้สำหรับอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานแล้วลากในวันออกพรรษา  ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระน้ำ" ส่วนลากพระทางบก เรียกว่า "เรือพระบก" สมัยก่อนจะทำเป็นรูปเรือ ให้คล้ายเรือจริง ๆ และต้องทำให้มีน้ำหนักน้อยที่สุด จึงใช้ไม้ไผ่สานมาตกแต่งส่วนที่เป็นแคมเรือและหัวท้ายเรือคงทำให้แน่นหนา ทางด้านหัวและท้ายทำงอนคล้ายหัวและท้ายเรือ   แล้วตกแต่งเป็นรูปพญานาค ใช้กระดาษสีเงินสีทองทำเป็นเกล็ดนาค กลางลำตัวพญานาคทำเป็นร้านสูงราว 1.50 เมตร เรียกว่า "ร้านม้า"  ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ บุษบก ซึ่งแต่ละที่จะมีเทคนิคการออกแบบบุษบก  มีการประดิษประดอยอย่างมาก หลังคาบุษบกนิยมทำเป็นรูปจตุรมุข  ตกแต่งด้วยหางหงส์ ช่อฟ้า ใบระกา และทุกครอบครัวต้องเตรียม "แทงต้ม" เตรียมหาใบกระพ้อ และข้าวสารข้าวเหนียวเพื่อนำไปทำขนมต้ม "แขวนเรือพระ"
                                                        
                                  การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนบุษบก
                                 พระลาก คือ พระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยม คือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระและเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นบนบุษบก แล้วพระสงฆ์จะ เทศนา เรื่อง การเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า  ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ในตอนเช้ามืด ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า "ตักบาตรหน้าล้อ" แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน บนนมพระ

                                ลากพระบก
                                ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น 2 สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย  ใช้โพน ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะในการลากพระ  คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสาน เสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง  ตัวอย่างบทร้องที่ใช้ลากพระ คือ  อี้สาระพา เฮโล เฮโล ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ

                                ลากพระน้ำ
                                การลากพระทางน้ำจะสนุกกว่าการลากพระทางบก เพราะสภาพการเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมอื่น ๆ เช่น สะดวกในการลากพระ  ง่ายแก่การรวมกลุ่มกันจัดเรือพาย แหล่งลากพระน้ำที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง คือ ที่อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร อำเภอพุนพินและ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช รองลงมาอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โดยเฉพาะอำเภอหลังสวนและที่บ้านแหลมโพธิ์ อำเภอหาดใหญ่ จะมีการเล่นเพลงเรือ ที่ขึ้นชื่อ ส่วนที่อำเภอปากพนังมีการเล่น "ซัดหลุม" (ซัดโคลน) กันสนุกสนานเพราะที่ปากพนังมีโคลนตมมาก การลากพระทางน้ำของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แปลกกว่าที่อื่น คือ จะลากกัน 3 วัน ระหว่างแรม 8 ค่ำถึงแรม 10 ค่ำ เดือน 11 มีการปาสาหร่ายโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาว มีการเล่นเพลงเรือ และที่แปลกพิเศษ คือ มีการทอดผ้าป่าสามัคคีในวันเริ่มงาน






วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔

ณ ตลาดไชยา


นายมนตรี เพชรขุ้ม เป็นประธานในพิธี


เรือพนมพระที่เข้าร่วมประเพณี


ขบวนพาเหรดจากชุมชนต่างๆ


กลุ่มสตรีที่ร่วมชักลากเรือพนมพระ


ขบวนแฟนซี







กลองยาวของชุมชนต่างๆที่ร่วมแห่








นักเรียนชุดนักรบโบราณ


มวยไชยา




















ประเพณีทำขวัญข้าวของตำบลป่าเว