บ้านเดิมเจ้า

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การอบรมสัมนา นโยบายและมาตรการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ

ณ เพื่อนเดินทางรีสอร์ท อำเภอไชยา

โดยมีนายอำเภอไชยา กล่าวเปิดงาน












นิติกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี


พ.ต.ท.สัญญา เย็นใส รองอัยการศาลจังหวัดไชยา



นายอำเภอไชยา เปิดโครงการเข้าค่ายพัฒนาคนดีศรีสุราษฎร์ฯ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ณ อาศรมพุทธพุทธบุตร












โครงการ การจัดเก็บใบปาล์มเพื่อวิเคราะห์การขาดธาตุสารอาหารของปาล์มน้ำมัน


โดย คุณใจทิพย์ ด่านปรีดานันท์ นักวิชาการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

คุณสินธ์ชัย ไวทยินทร์  จากสำนักงานเกษตรอำเภอไชยา

ณ สวนปาล์มน้ำมัน กำนันภิรมย์ ทองเพชร


ขั้นตอน
              1. เก็บตัวอย่างใบปาล์มน้ำมันจากทางใบที่ 17 และเก็บจากต้นที่กำหนดไว้ในการเก็บตัวอย่างใบ เพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
              2. ให้เก็บตัวอย่างปาล์มน้ำมัน ในแต่ละแปลงย่อยของสวนอย่างน้อยประมาณ 1%
              3. ทำการบันทึกต้นที่ผิดปกติ หรือต้นแสดงอาการขาดธาตุ N, P, K, Mg, B และ Cu 
              4. เก็บตัวอย่างในตำแหน่งทางใบที่ 17 โดยให้นับจากใบแรกที่เปิดเต็มที่แล้ว ที่บริเวณยอดของปาล์มน้ำมัน (ทางที่ 1) แล้วนับลงมา 2 รอบ (รอบของปาล์มน้ำมัน คือ 8 ทาง/รอบ) 
ตัดทางใบรอบที่ 3 ในแนวใกล้เคียงกับทางที่ 1
              5. ตัดใบย่อยบริเวณตรงกลางทาง จำนวน 3 - 6 ใบย่อยของแต่ละด้าน
              6. ใบย่อยทั้งหมด ให้ตัดส่วนปลายทั้งสองข้างออก ให้เหลือตรงกลาง 20 - 30 เซนติเมตร
              7. นำใบย่อยทั้งหมดที่ทำการเก็บตัวอย่างจากแต่ละแปลงย่อย ใส่รวมกันในถุงพลาสติกที่เขียนป้ายบอกแปลงเรียบร้อยแล้ว
              8. ใบย่อยทั้งหมดที่ตัดแล้ว ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด หรือเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำ โดยต้องระวังไม่ให้แต่ละตัวอย่างปนกัน
              9. เอาก้านทางใบ และขอบใบออก ส่วนแผ่นใบที่เหลือให้รีบนำส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็ว ข้อควรระวัง ให้เก็บไว้้ในที่ร่ม แห้ง และเย็น
เวลา
              1. ให้ทำในเวลาเดียวกันของแต่ละปี ปีละครั้ง โดยหลีกเลี่ยงช่วงฝนตกหนักหรือแล้งจัด
              2. การเก็บตัวอย่างใบในแต่ละครั้ง ควรเก็บหลังจากใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 3 เดือน จะไม่ทำให้ผลของปุ๋ยเหล่านั้นกระทบต่อผลการวิเคราะห์
การบันทึก
              1. วันที่ทำการเก็บตัวอย่าง
              2. จำนวนต้นที่ทำการเก็บตัวอย่าง
              3. อาการผิดปกติที่พบเห็นในระหว่างการเก็บตัวอย่าง









วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคจิตเวช ผู้ป่วย ญาติ ชุมชนต้องร่วมรับผิดชอบ


โรคทางจิตเวช

พญ.น้ำทิพย์  ทับทิมทอง  (จิตแพทย์)


โรคจิตเวชหมายถึง โรคที่มีอาการเด่นในเรื่องความรู้สึกนึกคิด การรับรู้ ใจคออารมณ์ หรือพฤติกรรม ผิดไปจากมนุษย์โดยเฉลี่ยที่เขาเป็นเขามีกัน จนทำให้คนๆนั้นไม่อาจใช้ชีวิต ทำงาน หรือเรียนได้อย่างที่เคย

 อาการของปัญหาจิตใจและอารมณ์
1.                       อาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง มีปัญหาในการนอน แขนขาชา ใจเต้นเร็ว เหนื่อยอ่อนเพลียไม่มีแรง
2.                       อาการทางจิตใจ เช่น เครียด กังวล ซึมเศร้า ท้อแท้ หมดหวัง สับสนฟุ้งซ่าน เซ็ง กลัว ระแวง อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย คิดฆ่าตัวตาย
3.                       อาการทางพฤติกรรม เช่น ซึม เฉยเมย กระสับกระส่ายไม่อยู่นิ่ง ก้าวร้าว พูดหรือยิ้ม คนเดียว ไม่สนใจตนเองและสิ่งแวดล้อม เดินเรื่อยเปื่อยไม่มีจุดหมาย ติดเหล้า ติดยา
4.                                   
อะไรคือโรคจิตเภท
โรคจิตเภทเป็น โรคๆหนึ่งในหลายๆโรคของโรคทางจิตเวชภาวะความเจ็บป่วยอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยที่ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรม ความคิด แตกต่างจากบุคคลทั่วไปอย่างมาก อาการที่พบได้ในภาวะความเจ็บป่วยของโรคนี้ ได้แก่
มองโลกผิดไปจากความเป็นจริง   ผู้ป่วยโรคจิตเภทมักมองโลกผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งแตกต่างจากคนทั่วๆไป ผู้ป่วยอาจจะมีอาการวิตกกังวล รู้สึกสับสน อาจจะดูเหินห่าง แยกตัวจากสังคม บางครั้งอาจนั่งนิ่งเป็นหิน ไม่เคลื่อนไหวและไม่พูดจาใดๆ เป็นชั่วโมงๆ  หรืออาจเคลื่อนไหวช้า ทำอะไรช้าๆ   ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมแปลกๆ อยู่ตลอดเวลา
ประสาทหลอน   ผู้ป่วยอาจคิดว่ามีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ความจริงไม่มีสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น เช่น ได้ยินเสียงคนมาสั่งให้ตนทำโน่นทำนี่ ได้ยินคนมาพูดคุยกับตน มาเตือน หรือมาตำหนิในเรื่องต่างๆ ทั้งๆ ที่ความจริงไม่มีคนพูดหรือไม่มีต้นกำเนิดเสียงเหล่านี้เลย ซึ่งเราเรียกอาการนี้ว่า "หูแว่ว"      ผู้ป่วยบางคนอาจมองเห็นคน ผี หรือสิ่งของต่างๆ  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีสิ่งเหล่านี้และไม่มีใครเห็นเหมือนผู้ป่วย เราเรียกอาการนี้ว่า "เห็นภาพหลอน"
ความคิดหลงผิด   ความคิดหลงผิดเป็นความเชื่อของผู้ป่วยที่ผิดไปจากความเป็นจริงและไม่ได้เป็นความเชื่อในวัฒนธรรมของผู้ป่วย ซึ่งความคิดหลงผิดในผู้ป่วยจิตเภทนี้มักจะแปลกประหลาดมาก เช่น เชื่อว่าพฤติกรรมของเขาหรือของคนอื่นๆถูกบังคับให้เป็นไปด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากต่างดาว เชื่อว่าความคิดของตนแพร่กระจายออกไปให้คนอื่นๆที่ไม่รู้จักรับรู้ได้ว่าตนคิดอะไรอยู่ หรือเชื่อว่าวิทยุหรือโทรทัศน์ต่างก็พูดถึงตัวผู้ป่วยทั้งๆที่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ความคิดผิดปกติ  ผู้ป่วยจะไม่สามารถคิดแบบมีเหตุมีผลได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยพูดคุยกับคนอื่นไม่ค่อยเข้าใจ เมื่อคนอื่นคุยกับผู้ป่วยไม่ค่อยเข้าใจก็มักจะไม่ค่อยคุยด้วย ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยถูกแยกให้อยู่คนเดียว
การแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม  ผู้ป่วยมักจะแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสมกับเรื่องที่กำลังพูด เช่น พูดว่าตนกำลังถูกปองร้ายจะถูกเอาชีวิต ซึ่งขณะพูดก็หัวเราะอย่างตลกขบขัน (โดยไม่ใช่คนปกติที่ต้องการทำมุขตลก) พบได้บ่อยเช่นกันที่ผู้ป่วยจิตเภทจะไม่ค่อยแสดงสีหน้า หรือความรู้สึกใดๆ รวมทั้งการพูดจาก็จะใช้เสียงระดับเดียวกันตลอด ไม่แสดงน้ำเสียงใดๆ (monotone)  ซึ่งอาการของผู้ป่วยจิตเภทนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื้อรัง มีบ้างในบางคนที่มีอาการเพียงช่วงเวลาสั้นๆและสามารถหายเป็นปกติได้ แต่ก็มักต้องการการรักษาที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเหมือนๆ กัน
ในเรื่องของการฆ่าตัวตาย  การฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่เป็นอันตรายมากสำหรับผู้ป่วยจิตเภท ถ้าผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายหรือมีการวางแผนที่จะทำอย่างนั้น ควรจะต้องให้การช่วยเหลืออย่างรีบด่วน เพราะผู้ป่วยจิตเภทมีการฆ่าตัวตายสูง
จะเห็นว่าอาการของคนป่วยโรคจิต หรือที่เรียกกันว่าคนบ้า นั้นต่างจากพวกเราและคนทั่วไปมากในขณะที่อาการของคนที่ไม่ได้บ้านั้นมีหลายอย่างที่บางครั้งเราเองก็เคยเป็นแต่ก็ไม่ได้มาพบจิตแพทย์ นั่นเป็นเพราะอาการของโรคทางจิตเวชที่ไม่ได้ "บ้านั้นเป็นอาการที่คนทั่วไปก็เป็นได้แต่ไม่รุนแรงมาก แต่ถ้าเราเกิดอาการต่างๆนี้มากจน
1.      รู้สึกเป็นทุกข์ทรมาณมาก (distressed)
2.      เสียงานเสียการ (dysfunction)
3.      ให้เราต้องทำอะไรที่อาจเกิดผลร้ายตามมา (maladaptive เช่น ทำร้ายตนเอง ทำลายข้าวของ เสพยาเสพติด
แบบนี้เราจึงจะจัดว่าสุขภาพจิตไม่ดี ป่วยทางจิตเวชแล้ว และแม้จะเป็นการป่วยที่ยังไม่ "บ้าแต่ก็ควรพบจิตแพทย์

สาเหตุของปัญหาจิตใจและอารมณ์    อาจเกิดจากความผิดปกติของ
·                               ด้านร่างกาย : โรคทางกาย โรคสมอง ความพิการ พันธุกรรม
·                               ด้านจิตใจ : ลักษณะบุคลิกภาพ การพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจ
·                               ด้านสิ่งแวดล้อม : สภาพสังคม วัฒนธรรม ครอบครัว เศรษฐกิจ

เมื่อไรจึงควรไปพบจิตแพทย์
เมื่อมีใครบอกว่าเราควรไปพบจิตแพทย์เรามักเป็นเดือดเป็นร้อนเพราะบังอาจมาหาว่าเราบ้าหรือนี่ แต่ในความเป็นจริงผู้ป่วยที่มาพบจิตแพทย์ส่วนใหญ่ไม่ได้ "บ้าโดยเฉพาะในปัจจุบันจะมีผู้ป่วยคนไทยเดินเข้ามาขอพบจิตแพทย์เองเป็นจำนวนมากเพราะผู้คนมีการศึกษาดีขึ้น

 ปัญหาที่ทำให้ต้องมาพบจิตแพทย์โดยไม่ได้เป็นบ้าได้แก่
-          มีเรื่องกลุ้มใจคิดไม่ตก ทำให้เครียด ปวดหัว นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย
-       อยู่ๆก็เกิดอาการเบื่อหน่าย ท้อแท้ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย อยากตาย โดยที่ไม่ได้มีเหตุการณ์อะไรมาทำให้เครียด
-       เกิดอาการใจสั่น หายใจไม่ทัน กลัวตายขึ้นมาเฉยๆทั้งๆที่ไม่มีอะไรน่ากลัวเกิดขึ้น ไปหาหมอทีไรก็ตรวจไม่พบความผิดปกติ
-          กลัวความสูง กลัวลิฟท์ กลัวแมลงสาบ ประหม่ากลัวคนมอง
-       ย้ำคิดย้ำทำ ปิดประตูแล้วต้องดูซ้ำๆหลายๆเที่ยว หรือกลัวความสกปรก ล้างมือตั้งหลายเที่ยวก็ยังรู้สึกไม่สะอาดอยู่ดี
-          เป็นคนอมทุกข์ หาความสุขไม่ค่อยได้ ทั้งๆที่อะไรๆก็เพียบพร้อม
-          คบกับใครไม่ได้นาน จะต้องมีปัญหาร่ำไป และมักเป็นปัญหาคล้ายๆกันซ้ำๆ

มาพบจิตแพทย์แล้วจิตแพทย์ทำอย่างไร ?
การพบจิตแพทย์ก็คล้ายๆกับพบแพทย์ทั่วๆไป  จะมีการถามประวัติความไม่สบายที่ต้องมาพบแพทย์และมีการตรวจสภาพจิต และอาจตรวจร่างกายด้วยถ้าแพทย์คิดว่ามีอะไรที่จะต้องตรวจดู   แพทย์จะถามประวัติเกี่ยวกับอาการทางร่างกายที่เกิดขึ้น เช่น ปวดหัว เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เรี่ยวแรงไม่ค่อยมี นอนหลับยาก ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อยาก ฯลฯ   ประวัติเกี่ยวกับอาการทางจิตใจ เช่น หงุดหงิด โมโหง่าย ร้องไห้ง่าย คิดอะไรซ้ำๆวนเวียน หรือความคิดไม่แล่นคิดอะไรไม่ออก ฯลฯ
นอกจากนี้แพทย์จะถามถึงความเป็นอยู่เช่น เป็นใคร ทำอาชีพอะไร บ้านอยู่ไหน แต่งงานแต่งการหรือยัง มีลูกกี่คน ถามถึงว่าช่วงนี้มีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ ทั้งที่ดี และที่ไม่ดี และผู้ป่วยรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนั้นและทำอย่างไรไป ถามประวัติส่วนตัวในอดีตเช่น พ่อแม่ทำอาชีพอะไร ชีวิตวัยเด็กเป็นอย่างไร ฯลฯ เพื่อจะได้เข้าใจว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญนั้นขึ้นทำไมผู้ป่วยจึงตัดสินใจทำแบบนั้น หรือทำไมจึงเกิดความรู้สึกแบบนั้น
ในการตรวจสภาพจิต จิตแพทย์จะดูตั้งแต่ท่าทาง การแต่งเนื้อแต่งตัว การพูดจา เพราะแค่นี้ก็พอบอกอะไรได้ตั้งหลายอย่างแล้ว เช่น คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักไม่ค่อยแต่งตัวไม่ค่อยแต่งหน้า คนที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำอาจจดที่หมอพูดทุกคำหรืออัดเทปไว้ด้วย คนที่เป็นโรคอารมณ์ดีผิดปกติมักพูดมาก เสียงดัง พูดไปหัวเราะไป คนที่เป็นโรคจิตคุยไปอาจต้องเอานิ้วมาทัดหูไปเพื่อเป็นเสาอากาศไว้ส่งกระแสจิต ฯลฯ นอกจากนี้แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างเพื่อตรวจดูความคิด ความจำ สมาธิ การตัดสินใจของผู้ป่วยด้วยเช่น ให้จำของ 3 อย่าง ให้ทำ 100-7 ถามคำพังเพย ฯลฯ และเมื่อได้ข้องมูลมากพอจิตแพทย์จะเริ่มให้การรักษา  

แล้วผู้ป่วยต้องทำอย่างไรบ้าง ?
สิ่งที่เราต้องทำเมื่อพบจิตแพทย์คือเล่าปัญหาให้แพทย์ฟัง ทั้งอาการไม่สบายที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ทำให้เราเครียด ชีวิตส่วนตัวทั้งในปัจจุบันและในอดีต สิ่งต่างๆเหล่านี้แพทย์จะค่อยๆถามให้ผู้ป่วยเล่าออกมาได้เองโดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้อง "ท่องมาหรือ "เรียบเรียงเอาไว้ก่อน ผู้ป่วยเพียงแต่เล่าตามที่แพทย์ถามเท่าที่จะเล่าได้ เรื่องที่ลำบากใจยังไม่อยากเล่าก็เก็บไว้ก่อน เอาไว้พร้อมที่จะเล่าแล้วค่อยเล่าก็ได้จิตแพทย์จะไม่คาดคั้นเอาให้ไ

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

5 รั้วแก้ปัญหายาเสพติด หน้าที่ทุกคนในชาติ


          ยาเสพติดถือเป็น "ภัยคุกคามที่กัดกร่อน บ่อนทำลายประเทศชาติ" ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่อปัจเจกบุคคล สังคมส่วนรวม และการพัฒนาประเทศ ทำให้สูญเสียทรัพยากรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเป็นกำลังสำคัญของประเทศ

          อีกทั้งการแพร่ระบาดของยาเสพติดก่อให้เกิดการเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศ ไม่เป็นที่ไว้วางใจของนานาชาติในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้ไม่กล้าเข้ามาท่องเที่ยวหรือลงทุนทางการค้าและธุรกิจต่าง ๆ

          ที่ผ่านมาการปราบปรามหรือเพิ่มโทษไม่ได้ทำให้ปัญหายาเสพติดหมดไป เพราะจากการสำรวจจำนวนผู้เสพยาเสพติดในประเทศไทยกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี 2546 มีผู้เสพประมาณ 460,000 คน ในปี 2550 มีผู้เสพ 570,000 คน และปี 2551 เพิ่มขึ้นเป็น 605,000 คน นั่นแสดงว่าการปราบปรามอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีนโยบายด้านอื่นมาสนับสนุนด้วย

          การดึงพลังของทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันทำงานแบบครบวงจรเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหา รัฐบาลจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์แผนปฏิบัติการในเรื่องของยาเสพติดภายใต้ชื่อ "ยุทธศาสตร์ 5 รั้ว ป้องกัน" เพื่อป้องกันจุดอ่อน 5 ด้าน ทั้งด้านชายแดน ด้านปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ด้านความอ่อนแอของครอบครัว-ชุมชน และด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคม สภาพแวดล้อม

          "รั้ว" ในที่นี้หมายถึง การสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างกิจกรรม สร้างกระบวนการทำงานทั้งภาครัฐและประชาชนได้ดำเนินการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ อันได้แก่ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว

          รั้วแรก คือ "รั้วชายแดน"

          ยาเสพติดส่วนใหญ่มาจากแหล่งผลิตในประเทศเพื่อนบ้านและลักลอบนำเข้าประเทศไทย ภารกิจนี้มีกองบัญชาการกองทัพไทยเป็นเจ้าภาพหลัก ให้กองกำลังป้องกันชายแดนเป็นผู้รับผิดชอบในระดับพื้นที่ ทำหน้าที่จัดกำลังปฏิบัติการลาดตระเวน สกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดน จัดตั้งอาสาสมัครประชาชนในหมู่บ้านชายแดนเพื่อเป็นกำลังเฝ้าระวัง รวมถึงปฏิบัติการสกัดกั้นยาเสพติดในเชิงรุกด้วยการดำเนินมาตรการทางการข่าว การร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งด้านการข่าว การปราบปรามสกัดกั้น และการลาดตระเวนร่วมกัน

          รั้วสอง คือ "รั้วชุมชน"

          จากความอ่อนแอของชุมชน ความไม่มีภูมิคุ้มกันของชุมชนทำให้ปัญหายาเสพติดเข้ามาแพร่ระบาดได้ง่าย รัฐบาลจึงประกาศชัดเจนที่จะสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ เสริมบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนในการเฝ้าระวังรวมทั้งการสำรวจตรวจสอบพฤติการณ์ทั้งค้าและเสพด้วยกระบวนการประชาคม เพื่อคัดกรองปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านและชุมชนขั้นต้นรวมถึงมาตรการทางด้านกฎหมาย เพื่อลดทอนโครงสร้างทางการค้าในพื้นที่ รวมถึงการจับกุมและส่งผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด

          รั้วสาม คือ "รั้วสังคม"

          มุ่งเน้นไปที่เด็กและเยาวชน ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่าปัจจัยลบในสังคม ทั้งสถานบันเทิงที่ผิดกฎหมาย หอพักที่ไม่ได้จดทะเบียน โต๊ะสนุ๊ก โต๊ะพนันบอล ตู้ม้า ร้านเกมส์ อินเทอร์เน็ต แหล่งมั่วสุมต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ภารกิจนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการโดยผู้ว่าราชการจังหวัด/ผอ.รมน.จว.ดำเนินการขยายพื้นที่และกิจกรรมทางบวกให้มากขึ้น อาทิ ลานกีฬา ลานดนตรี ลานกิจกรรมสร้างสรรค์ของเยาวชน รวมถึงการสร้างแกนนำกลุ่มต่าง ๆ ในจังหวัด ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการจัดระเบียบสังคม อาทิ แกนนำครูอาสา แกนนำผู้ปกครอง แกนนำเยาวชน แกนนำชุมชน ฯลฯ

          รั้วสี่ คือ "รั้วโรงเรียน"

          ปกติแล้วเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็จะมีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องอื่น ๆ ตามมา เช่น หนีเรียน มั่วสุม เสพยาเสพติด ก้าวร้าว สูบบุหรี่ ดื่มของมึนเมา ดังนั้นมาตรการแก้ไขปัญหาของเยาวชนจึงต้องมุ่งเน้นไปที่สถานศึกษาทุกระดับ ภารกิจนี้มีกระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพหลักในการสำรวจและจัดทำข้อมูลค้นหาผู้เสพ/ผู้ติด/ผู้ค้า และเยาวชนกลุ่มเสี่ยง โดยมอบหมายให้ครูทำหน้าที่เสมือนกลไกปลูกฝังและสอดส่องพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ด้วยการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา อาทิ การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาเฉพาะ ค่ายพัฒนาคุณธรรมกิจกรรมทางเลือกตามความสนใจของเยาวชนทั้งดนตรี กีฬา ศิลปะและการพัฒนาอาชีพ นอกจากนี้ยังผลักดันให้มีการจัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครองในโรงเรียนและชุมชนด้วย

          รั้วสุดท้าย "รั้วครอบครัว"

          ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะป้องกันยาเสพติด เพราะเมื่อใดครอบครัวเข้มแข็งก็จะส่งผลต่อพื้นฐานของความเข้มแข็งของประเทศด้วย โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง เกี่ยวกับความรู้ในการป้องกันยาเสพติด โดยจะมุ่งเน้นไปที่ครอบครัวที่มีบุคคล เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งที่ถูกจับกุมหรือที่บำบัดรักษา เป็นเป้าหมายแรก

          นอกเหนือจากยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันแล้ว ยังมีการใช้มาตรการทางกฎหมายสืบสวน ปราบปรามกลุ่มการค้ายาเสพติดระดับต่าง ๆ เพื่อตัดโครงสร้างการกระจายยาเสพติดไปยังผู้เสพ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และการเร่งรัดโครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดแบบบูรณาการ นำผู้เสพเข้าสู่ระบบบำบัดฟื้นฟูของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงการใช้กระบวนการชุมชน ประชาสังคมเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง เช่น กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน ในการจัดทำค่ายบำบัดฟื้นฟู และโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองให้ความช่วยเหลือในการดำเนินชีวิตภายหลังผ่านการบำบัดฟื้นฟู เช่น การให้อาชีพ สนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ ตลอดจนการจัดกลไกติดตามผู้ผ่านการบำบัดให้สามารถกลับสู่สังคมได้ตามปกติ

          สำหรับเส้นทางการลักลอบนำเข้ายาเสพติดสู่ประเทศไทยนั้น ยาบ้าจะถูกนำเข้ามาทางภาคเหนือเป็นหลัก ขณะที่กัญชาจะถูกนำเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ 18 อำเภอ ใน 8 จังหวัด เป็นพื้นที่หลักที่มีการลักลอบนำเข้ายาเสพติดมากที่สุด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.แม่สาย อ.เชียงแสน อ.เชียงดาว อ.เวียงแหง อ.ไชยปราการ อ.แม่อาย) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.ปาย อ.ปางมะผ้า) จ.หนองคาย (อ.เมือง อ.บึงกาฬ) จ.นครพนม (อ.ท่าอุเทน อ.บ้านแพง) จ.มุกดาหาร (อ.เมือง) จ.อุบลราชธานี (อ.เขมราฐ) จ.สระแก้ว (อ.อรัญประเทศ)

          กองทัพบก เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ร่วมรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้าน ตามยุทธศาสตร์ "รั้วชายแดน" จึงมีการเสริมสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยการเพิ่มความถี่และความเข้มข้นของการลาดตระเวน จัดจุดตรวจ/จุดสกัดเส้นทางตามแนวชายแดน ในพื้นที่และช่องทางสำคัญที่มีปัญหาการลักลอบนำเข้ายาเสพติดและส่งออกสารตั้งต้นสารเคมีการปิดล้อม/ตรวจค้นการตัดทำลายพืชเสพติด ตลอดจนการประสานหน่วยทหารชายแดนของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อความร่วมมือด้านการข่าวและการลาดตระเวนร่วมกัน โดยยึดถือระยะ 30-50 กม. จากแนวชายแดนเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ

          อย่างไรก็ตาม การลักลอบนำเข้ายาเสพติดมักใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจของเจ้าหน้าที่ เช่น ลักลอบนำเข้าในช่วงเทศกาลสำคัญลำเลียงและซุกซ่อนมากับสินค้าเกษตรที่ยากต่อการตรวจค้น หลีกเลี่ยงเส้นทางหลักหรือใช้การอ้อมผ่านจุดตรวจ/จุดสกัด ใช้การดัดแปลงพาหนะลักลอบนำเข้า ซุกซ่อนตามร่างกายคนและสัตว์เศรษฐกิจ ลักลอบนำเข้าทางพัสดุไปรษณีย์ ระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งการลักลอบนำเข้าในลักษณะกองทัพมด และแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทำงาน

          ดังนั้น การสร้างรั้วชายแดนให้แข็งแกร่งจึงจำเป็นต้องสร้างสัมพันธ์กับผู้นำชุมชนเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งอาสาสมัครประชาชนในหมู่บ้านตามแนวชายแดนเพื่อให้เป็นกำลังเฝ้าระวังรวมถึงการเสริมสร้างกำลังประจำถิ่นในรูปแบบโครงการหมู่บ้าน/ชุมชนชายแดนเข้มแข็ง ช่วยในการแจ้งข้อมูลข่าวสารหรือให้ความร่วมมือในการจับกุมกระบวนการค้ายาเสพติด ป้องกันมิให้การแพร่ระบาดของยาเสพติดขยายตัวมากขึ้น

          งานการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดของกองทัพบก มิได้จำกัดอยู่แค่เพียงป้องกันและปราบปรามพื้นที่หน่วยทหารและพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงงานด้านบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดด้วย โดยจะรับผู้ติดยาเสพติดที่ถูกจับกุม และศาลพิจารณาตัดสินให้เป็นผู้ป่วย เข้ามาบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในหน่วยทหารที่จัดตั้งเป็นศูนย์บำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ภายใต้ชื่อ "ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง" มุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้เรียนรู้แนวทางการดูแลตัวเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ตลอดจนการฝึกวิชาชีพซึ่งเป็นกิจกรรมทางเลือกเพื่อพัฒนาทักษะให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพหลังจบหลักสูตรต่อไป

          ยาเสพติดเป็นปัญหาระดับชาติไม่สามารถแก้ไขให้บรรลุผลได้ด้วยองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ต้องอาศัยการแก้ไขในมิติต่างๆ ทั้ง 5 ให้แข็งแกร่ง สถาบันทางสังคมทุกระดับทั้งสถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันโรงเรียน สถาบันศาสนา ต่างทำบทบาทของตนอย่างครบถ้วน ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันสร้างความรู้ความเข้าใจทัศนคติที่ดี ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์เท่าทันต่อเหตุการณ์ จึงเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถขจัดปัญหายาเสพติดให้หมดสิ้นไปจากผืนดินไทยได้อย่างแท้จริง

          26 มิถุนายน ของทุกปี เป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" ควรถือเป็นโอกาสสำคัญเริ่มต้นการ "สร้างรั้วทั้ง 5 ของชาติไทยให้แข็งแกร่ง" ด้วยจิตสำนึกและพลังความร่วมมือจากประชาชนในทุกภาคส่วน








ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

แนวโน้มราคายางปี 2555 สูงหรือต่ำ แต่เกษตรกรต้องทำใจ




ราคายางในปี 2555 ยังมีแนวโน้มผันผวน ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อปริมาณการผลิตและความต้องการยางในตลาดโลก โดยปัจจัยที่ต้องจับตา คือ  ความวิตกต่อวิกฤตเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรโซน ภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ซึ่งส่งผลทำให้อัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์มีแนวโน้มชะลอตัว รวมทั้งการเข้าซื้อหรือชะลอการซื้อยางของจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้ยางอันดับ 1 ของโลก ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคายางนอกจากนี้ การปรับตัวของราคาน้ำมัน การเก็งกำไรของกองทุนโภคภัณฑ์ต่างๆในตลาดซื้อขายยางล่วงหน้า รวมถึงการดำเนินมาตรการของรัฐบาลในการเข้าแทรกแซงตลาดยาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพยุงราคายาง ก็ส่งผลกระทบต่อราคายางเช่นกัน ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ยังคงส่งผลให้คาดการณ์ว่าราคายางในปี 2555 ยังมีแนวโน้มผันผวนต่อเนื่องจากในปี 2554 หลังจากที่ราคายางอยู่ในช่วงขาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2552
ในปี 2554 ราคายางผันผวนในช่วงที่เกิดภัยพิบัติสึนามิและแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้ยางที่สำคัญของโลก และช่วงเดือนเมษายนที่ทั่วโลกเกิดความวิตกว่าจะเกิดปัญหาขาดแคลนยาง เนื่องจากปัญหาสภาพอากาศที่แปรปรวนในแหล่งผลิตยางที่สำคัญ ทั้งไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นราคายางก็มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยสำคัญคือ ความวิตกถึงผลกระทบของวิกฤตหนี้ในกลุ่มประเทศยูโรโซน และภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีแนวโน้มชะลอตัวทั้งในสหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และจีน ส่งผลให้แนวโน้มความต้องการยางมีแนวโน้มชะลอตัวตามไปด้วย รวมทั้งจีนมีชะลอการรับซื้อยาง เนื่องจากปริมาณสต็อกมีเพียงพอ และในช่วงเดือนตุลาคมราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างมากจากข่าวการขายยางให้จีนในราคาเอฟโอบี 105 บาท/กก. ส่งผลกดดันให้ราคาขายยางในตลาดในประเทศปรับตัวลดลงอย่างมาก จากราคาเฉลี่ยยางแผ่นดิบ ณ ตลาดกลางท้องถิ่นที่ทรงตัวอยู่ในระดับ 126 บาท/กก.ในเดือนกันยายน 2554 มาอยู่ที่ระดับ 111.99 บาท/กก.ในเดือนตุลาคม 2554 และณ วันที่ 20 มกราคม 2554 อยู่ที่ระดับ 110.29 บาท/กก.
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือร่วมกับกลุ่มเครือข่ายชาวสวนยางถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ โดยกระทรวงเกษตรฯเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ(กนย.)ในการประชุมวันที่ 17 มกราคม 2555 พิจารณาอนุมัติงบประมาณ 10,000 ล้านบาท มอบหมายให้องค์การสวนยาง และองค์กรเกษตรกร รับซื้อยางจากเกษตรกรจำนวน 2 00,000 ตันเก็บเข้าสต็อก โดยมีเป้าหมายว่าจะสามารถดึงราคายางในประเทศให้ขึ้นไปถึง 120 บาท/กก.ได้ภายใน 2 เดือน ซึ่งหลังจากกนย.อนุมัติจะเสนอที่ประชุมครม.วันที่ 24 มกราคม และหลังครม.อนุมัติก็จะสามารถใช้เงินดังกล่าวในการดำเนินการได้ อย่างไรก็ตาม ข่าวการจะเข้าแทรกแซงตลาดยางของรัฐบาลโดยการดึงปริมาณผลผลิตยางออกจากตลาด โดยการเก็บสต็อกไว้ นับเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น 
ปัจจัยที่จะมีบทบาทในการกำหนดทิศทางราคายางในระยะต่อไป ได้แก่
1.ความต้องการยางในตลาดโลก เนื่องจากยางที่ผลิตได้ในประเทศทั้งหมด มีการใช้ในประเทศเพียงร้อยละ 14.0 เท่านั้น ส่วนที่เหลือส่งออกในรูปของยางแปรรูปขั้นต้น(ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น ยางคอมปาวน์ ฯลฯ) และผลิตภัณฑ์ยาง(ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง สายพานลำเลียงฯลฯ) กลุ่มศึกษายางระหว่างประเทศ (IRSG) คาดการณ์ความต้องการในตลาดโลกในปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ไปแตะที่ระดับ 27.5 ล้านตัน โดยแยกเป็นความต้องการยางธรรมชาติ 11.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และความต้องการยางสังเคราะห์ 15.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ในขณะที่ปริมาณการผลิตยางรวมในปี 2555 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ไปแตะที่ระดับ 27.2 ล้านตัน โดยแยกเป็นปริมาณการผลิตยางธรรมชาติ 11.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และปริมาณการผลิตยางสงเคราะห์ 15.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4
ประเด็นที่น่าสังเกต คือ ในปี 2555 ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จนกระทั่งมาอยู่ในระดับเดียวกับปริมาณความต้องการยางธรรมชาติ รวมทั้งอัตราการขยายตัวของปริมาณความต้องการยางก็มีระดับใกล้เคียงกับอัตราการเพิ่มขึ้นของผลผลิต สะท้อนให้เห็นว่าแรงกดดันด้านอุปทานในปีนี้ไม่มากนัก ส่วนปัญหาอุปทานตึงตัวน่าจะไม่รุนแรง นอกเหนือไปจากแรงหนุนจากการที่ไทยกำลังจะเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ (ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน) ซึ่งผลผลิตยางจะออกสู่ตลาดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องระวังความเสี่ยงในเรื่องสภาพอากาศที่แปรปรวนอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตยาง
ในขณะที่ในด้านความต้องการยางนั้นยังต้องจับตาผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรโซน และวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว และส่งผลต่อการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ และความต้องการยางเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ลดลงตามไปด้วย โดยอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ต้องจับตามอง คือ จีน  เนี่องจากเป็นตลาดส่งออกยางที่สำคัญของไทย โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.9 ของมูลค่าการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ สมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์ของจีนคาดว่าในปี 2555 ยอดขายรถยนต์ในจีนแม้จะยังคงขยายตัว แต่มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากในปี 2554 โดยในปี 2554 ยอดจำหน่ายรถยนต์ในจีนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.5 ไปแตะที่ระดับ 18.5 ล้านคัน เมื่อเทียบกับในปี 2553 ที่มีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 32.4 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงสุดในรอบ 11 ปี นอกจากนี้ ประเทศที่อุตสาหกรรมยานยนต์มีแนวโน้มเติบโตและมีความต้องการนำเข้ายางเพิ่มขึ้นได้แก่ อินเดีย เวียดนาม และบราซิล   
2.ราคาน้ำมัน เนื่องจากยางสังเคราะห์ในตลาดโลกมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของปริมาณความต้องการยางทั้งหมด โดยวัตถุดิบสำคัญในการผลิตยางสังเคราะห์ก็คือ ผลพลอยได้จากน้ำมัน ราคายางสังเคราะห์จึงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน และเนื่องจากยางสังเคราะห์เป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนยางธรรมชาติ ดังนั้น ราคายางธรรมชาติจึงมีทิศทางเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันเช่นกัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2555 ที่ระดับ 95-110 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล ซึ่งเท่ากับว่าราคาน้ำมันจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง
3.การเก็งกำไรในตลาดซื้อขายยางล่วงหน้าของกองทุนโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ ยางถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ซึ่งราคาซื้อขายยางในตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้ามักจะเป็นราคาชี้นำตลาดยางในตลาดซื้อขายจริง โดยเฉพาะในตลาดโตเกียว(TOCOM) และตลาดสิงคโปร์(SICOM)
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสังเกตคือ ในปี 2554 การปรับตัวของราคายางในประเทศมีแนวโน้มรุนแรงกว่าในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากมีการผนวกกับแรงเก็งกำไรของบรรดาพ่อค้ายางในตลาดท้องถิ่นด้วย ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2555 การเก็งกำไรในตลาดยางก็ยังมีแนวโน้มรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
4.การดำเนินมาตรการแทรกแซงตลาดยางของรัฐบาล และบทบาทของบริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศ นโยบายรัฐบาลในการดำเนินการแทรกแซงตลาดยางเพื่อพยุงราคายาง โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ นโยบายที่ดำเนินการโดยรัฐบาลไทย และนโยบายที่ดำเนินการผ่านบริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศ(ประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย) โดยปัจจุบันบทบาทในการพยุงราคายางของบริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
สำหรับในส่วนของการดำเนินการแทรกแซงตลาดยางของไทย มีบทบาทสำคัญต่อทิศทางราคายางทั้งตลาดในประเทศ และตลาดโลก เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางอันดับ 1 ของโลก และราคาส่งออกยางแผ่นรมควันชั้น 3 เอฟโอบีนับเป็นราคาอ้างอิงในตลาดโลก ซึ่งล่าสุดการอนุมัติวงเงินเพื่อซื้อยางเก็บเข้าสต็อก(รอมติครม.เห็นชอบ) ก็หยุดภาวะราคายางที่ตกต่ำต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 และราคายางกลับมาดีดตัวขึ้น ซึ่งมาตรการแทรกแซงตลาดยางของไทยนี้น่าจะเป็นปัจจัยที่จะช่วยพยุงราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อสร้างเสถียรภาพให้แก่รายได้เกษตรกรผู้ปลูกยาง
5.การขยายพื้นที่ปลูกยาง เนื่องจากราคายางที่อยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเปรียบเทียบกับพืชเกษตรประเภทอื่นๆ จากความต้องการในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆที่มีการขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ นับเป็นแรงจูงใจให้ประเทศต่างๆเร่งขยายพื้นที่ปลูกยาง เช่น ไทยมีการขยายพื้นที่ปลูกยาง 1 ล้านไร่ในปี 2546(ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเริ่มทยอยให้ผลผลิตแล้ว) และมีนโยบายจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มอีก 800,000 ไร่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปี 2555 ส่วนอินโดนีเซีย และมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลกก็ขยายพื้นที่ปลูกยางเช่นกัน ส่วนจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลกก็ลงทุนปลูกยางเพิ่มทั้งในประเทศ และนอกประเทศ โดยเฉพาะกัมพูชา พม่า และลาว เป็นต้น การขยายพื้นที่ปลูกยางส่งผลให้ปริมาณการผลิตยางในตลาดโลกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าหลังช่วงตรุษจีนราคายางแผ่นดิบ ณ ตลาดกลางยังมีโอกาสดีดตัวกลับขึ้นไปจากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 110.29  บาท/กก.(ราคา ณ วันที่ 20 มกราคม 2554) เนื่องจากคาดว่าสต็อกยางของจีนจะเริ่มปรับลดลง และจีนจะเริ่มกลับเข้ามาเริ่มซื้อยางอีกครั้ง รวมทั้งทางรัฐบาลอาจมีมาตรการเข้ามาพยุงราคาช่วยเหลือเกษตรกร ขณะที่หากเศรษฐกิจจีนไม่ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมามากนัก (ซึ่งขยายตัวร้อยละ 8.9 ในไตรมาส 4 ปี 2554) ก็จะเป็นปัจจัยหนุนราคายางอย่างไรก็ตาม อาจเป็นการยากที่ราคายางในปี 2555 จะกลับขึ้นไปอยู่ในระดับเท่ากับในปี 2554 ที่ราคาเฉลี่ยยางแผ่นดิบ ณ ตลาดกลาง อยู่ในระดับ 132.42 บาท/กก. เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัว และปริมาณผลผลิตที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น