บ้านเดิมเจ้า

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

   ประวัติ บ้านเดิมเจ้า หมู่ที่  5 ต.ป่าเว อ.ไชยา
    จ.สุราษฎร์ธานี
     
     บ้านเดิมเจ้า  ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2523  โดยแยกมาจาก
 หมู่ที่  2 ต.ป่าเว อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี โดยใช้ชื่อว่า " บ้านเดิมเจ้า "

มี นายครวญ  จันทร์แสง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
บ้านเดิมเจ้า ตั้งตามชื่อ วัดเดิมเจ้า ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน ที่มีการเล่าต่อกันมาถึง

ชื่อ เดิมเจ้า ว่า วัดเดิมเจ้า วัดนี้สร้างขึ้นมาอายุหลายร้อยปี แต่ไม่มีใครทราบแน่ชัด

ว่าได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.ใด แต่จากการเรียบเรียงจากคำบอกเล่า 

ของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน*  และเอกสารการให้สัมภาษณ์    
ของ พระครูไพโรจน์สีลาจารย์ * เจ้าอาวาสองค์ก่อนเล่าไว้ว่า
ชาวบ้านได้ชักลากพระมาจากเขาเพลา อ.ท่าชนะ พอมาถึงบริเวณที่ตั้งวัดปัจจุบัน
พระที่ชักลากมานั้นไม่ยอมเคลื่อนที่ ชาวบ้านก็ดึงเชือก จนเชือกเข้าเหยา*
แล้วก็ดึงต่อ จนเชือกขาด และในที่สุดก็หยุดพระไว้  และตกลงใจสร้างวัดที่นั่น
จึงเรียกวัดที่สร้างว่า วัดดอนเหยา จากสาเหตุเชือกที่ลากพระมา เกิดเข้าเหยา
ครั้นต่อเมื่อเวลาล่วงผ่านมา หลายยุคหลายสมัย ชาวบ้านก็เรียกเพี้ยนไปเรื่อย
บางช่วงก็เรียก วัดดอนเหยา วัดดอนเจา วัดเดิมเจา  และวัดเดิมเจ้าในปัจจุบัน
 
  * รายงาน โครงการอบรมครูและบุคคลากรทางการศึกษาประจำการ  วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี
     ปีการศึกษา   2527   โดย   1. ประยุทธ จินตนพพันธ์  2. สมชาย มีศักดิ์  
                                   3. สวัสดิ์ จำเนียร   4. สะอาด นาคคล้าย                                                         
  * เชือกเข้าเหยา หมายถึง เชือกที่ดึงจนยืดและย่นเข้าหากัน (  ภาษาถิ่น  )
  * รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายบุญพิพัฒน์ มากมี
      
บ้านเดิมเจ้า หมู่ที่ 5 ต.ป่าเว อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
     บ้านเดิมเจ้า เป็นแหล่งชุมชนโบราณ ตำแหน่งที่ตั้ง บ้านเดิมเจ้า 

 พิกัดทางภูมิศาสตร์ เส้นรุ้ง องศา ๒๔ ลิปดา  ๕๕  ฟิลิปดาเหนือ

เส้นแวง ๙๙ องศา  ลิปดา ฟิลิปตะวันออก*   เพราะเมื่อปี ๒๔๘๓

นายนึก หลกตั้ง ขุดที่นาที่ต่อกันกับวัด ก็ได้พบพระพิมพ์ดินเผา  ๕ แผ่น

บรรจุในออม มีถ้วยปิดเรียบร้อย แต่เมื่อขุดโดนออมก็แตก
พระพิมพ์ยังเหลืออยู่  ๓ แผ่น ในแต่ละแผ่น มีพระอยู่ ๔ แถว แถวละ ๔ องค์

พระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นแผง ๑๖ องค์ รูปพิมพ์กว้าง ๔ นิ้ว สูง ๕ นิ้ว *
และพระอธิการอรรถ ศิลโต   ( พระครูไพโรจน์ สีลาจารย์ )

นำมามอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในวันที่ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓*
* สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๒๓  เล่ม ๓ สถาบันทักษิณคดีศึกษา 
    มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรต สงขลา
*
พระครูไพโรจน์สีลาจารย์ ผู้ให้สัมภาษณ์ กับคณะนักศึกษาโครงการอบรมครู
   วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี ๑๘ กันยายน ๒๕๒๗    โดย นายสวัสดิ์  จำเนียร                  

พระครูไฟโรจน์สีลาจารย์


                                                             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น