บ้านเดิมเจ้า

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

เตือนภัย แก๊งหลอกเงิน ทางโทรศัพท์-ตู้ ATM

                                                                                                                                             1.
แก๊งค์ Call Center ฉกเงินผ่านมือถือ-ATM
โทรศัพท์มือถือ บัตรเครดิต และตู้เอทีเอ็ม กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของคนยุคใหม่ แม้จะนำมาซึ่งความสะดวกสบายในการใช้จ่ายอย่างแทบจะไร้ขีดจำกัด แต่นั่นก็ทำให้เกิดช่องทาง มิจฉาชีพสมองใสเข้ามาฉวยโอกาสก่ออาชญากรรมได้ง่ายๆ โดยสร้างความเสียหายระดับมหาศาล
    แก๊งคอลล์เซ็นเตอร์  ล่อหลอกให้เหยื่อโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม ซึ่งกำลังระบาดอย่างหนักในปัจจุบัน โดยผู้ตกเป็นเหยื่อไม่จำกัดเพศ วัย ฐานะ หรือสาขาอาชีพ เพราะแม้แต่แพทย์  ผู้พิพากษา หรือตำรวจ ก็ยังเคย  พลาด  โอนเงินให้กับแก๊งเหล่านี้มาแล้ว     วิธีการของแก๊งค์เหล่านี้...คือ
1. ตั้งศูนย์นอกประเทศไทยและในไทย ที่ตำรวจเคยจับกุมได้เกือบทั้ง หมดอยู่ที่ประเทศจีน โดยศูนย์จะอยู่ตามห้องพักหรือแฟลตต่างๆ มีนายทุนจ้างคนไทยทำหน้าที่เป็นคอลล์เซ็นเตอร์โทรกลับมาหลอกเหยื่อชาวไทย คอลล์เซ็นเตอร์ทั้ง 2 รูปแบบจะมีการว่าจ้างคนในประเทศไทย ไปเปิดบัญชีธนาคารรอเอาไว้ เช่น หลอกเหยื่อคนไทยก็จะจ้างคนไทยไปเปิดบัญชีธนาคารเอาไว้ จากนั้นจะมี คนกดเงิน ทำหน้าที่ตระเวนกดเงินตามตู้เอทีเอ็มต่างๆ เพื่อกดเงินออกจากบัญชีที่เปิดรอไว้ดังกล่าว เมื่อได้เงินมาก็จะส่งเงินต่อไปยังกลุ่มขบวนการด้วยวิธีการต่างๆ เช่น รวบรวมเป็นเงินสด หรือนำไปโอนผ่านบัญชี ผู้ต้องหาส่วนใหญ่ที่จับกุมได้ จะเป็นคนที่ทำหน้าที่คอลล์เซ็นเตอร์, คนไทยที่ถูกจ้างให้เปิดบัญชี จ้างคนกดเงินตามตู้เอทีเอ็ม แต่ยังไม่เคยสาวไปถึงนายทุนใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว
วิธีการหลอก  จะมีการเขียนสคริปท์ให้คนที่ถูกจ้างมาเป็น คอลล์เซ็นเตอร์ใช้พูดตามบทที่เขียนขึ้น ซึ่งที่พบมีทั้งภาษาไทยและภาษาจีน ส่วนเนื้อหาในสคริปท์จะมีใจความที่ทำให้เหยื่อเกิดความโลภหรือความหวาดกลัว เช่น ในช่วงที่ประชาชนต้องทำเรื่องเสียภาษี แก๊งคนร้ายก็จะฉวยโอกาสสมอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรหลอกว่ามีเงินภาษีคืน ให้ไปทำธุรกรรมทางตู้เอทีเอ็ม จะได้สะดวก ได้เงินคืนทันที ไม่ต้องเสียเวลามาทำเรื่อง
หรืออ้างว่า ถูกรางวัลจากการสุ่มเบอร์จากที่ต่างๆ
ส่วนการหลอกด้วยความหวาดกลัวนั้น มักจะอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ปปง. ดีเอสไอ กรมสรรพากร เจ้าหน้าที่ศาล เนื้อหาหลักๆ จะพุ่งเป้าไปที่บัญชีธนาคารของเหยื่อมีปัญหาต่างๆ นานา
หลังทำให้เหยื่อเกิดความโลภหรือหวาดกลัวแล้ว ผู้ที่ทำหน้าที่คอลล์เซ็นเตอร์ก็จะหว่านล้อมด้วยคำพูดแบบหวังดีคือต้องการ ช่วยเหลือ แต่แท้ที่จริงแล้วประสงค์ร้าย โดยพูดอย่างไรก็ได้ให้เหยื่อไปที่ตู้เอทีเอ็มเพื่อกดโอนเงินไปเข้าบัญชีที่ แก๊งคนร้ายเปิดรอไว้แล้ว
โดยการหลอกที่ตู้เอทีเอ็มนั้น ก็จะพูดให้กดปุ่มจากเมนูภาษาไทยก่อน แต่เมื่อคนร้ายบอกให้กดปุ่มนั้นปุ่มนี้แล้วเหยื่อบอกว่าไม่มีปุ่มนั้นๆ ก็จะเข้าทางคนร้าย เพราะจะบอกให้เปลี่ยนเป็นเมนูภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้เหยื่อ (ส่วนใหญ่) อ่านไม่ออก จึงกดตาม เมื่อนั้นก็เข้าทางคนร้าย เพราะรหัสหรือข้อความที่ซ่อนอยู่หลังแป้นกดเป็นการกดเพื่อโอนเงินจากบัญชี โดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว
                                                                                                  3.   
กลุ่มแก๊งที่พบบ่อย
จากข้อมูลของ พ.ต.ท.เชี่ยววิทย์ ศรีวิเชียร รองผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (รอง ผกก.3 บก.ปคบ.) ที่โพสต์ไว้ในเว็บไซต์ของตำรวจ ได้จำแนกกลุ่มแก๊ง คอลล์เซ็นเตอร์ ที่ปฏิบัติการหลอกลวงเหยื่อเอาไว้อย่างน่าสนใจ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.แก๊งรับรางวัล หรือคืนภาษี
คนร้ายจะหลอกเหยื่อว่าได้รับเงินรางวัลจากที่ต่างๆ เช่นบริษัทรถยนต์ที่ซื้อ  หรือรางวัลจากการสุ่มเบอร์โทรศัพท์ คุณได้รางวัลใหญ่ ต้องรีบดำเนินการภายในวันนี้เท่านั้น (แน่นอนว่าเหยื่ออยากได้เงินแต่ไม่มีเวลา) คนร้ายจะดำเนินการต่อไปดังนี้
- แนะนำให้ไปที่ตู้เอทีเอ็มที่เหยื่อมีอยู่
- ทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้เสียหายเลือกเมนูภาษาอังกฤษ และพูดโต้ตอบอย่างรวดเร็วให้ผู้เสียหายสับสนจนต้อง  . . รีบทำการที่คนร้ายบอก
- หลอกให้อ่านตัวเลขและโอนเงินของเหยื่อ กว่าเหยื่อจะรู้ตัวว่าถูกหลอกก็ต่อเมื่อโอนเงินไปแล้ว
- คนร้ายวางหู ในช่วงนี้เหยื่อจะมีเวลาคิดและรู้ว่าถูกหลอก แต่สายเสียแล้ว
2.แก๊งหนี้บัตรเครดิต คนร้ายจะหลอกเหยื่อว่ามีหนี้บัตร เครดิตจากธนาคารต่างๆ ไม่ว่าเหยื่อจะมีบัตรเครดิตหรือบัญชีของธนาคารนั้นๆ หรือไม่ แน่นอนว่าเหยื่อจะต้องตกใจ จากนั้นคนร้ายจะดำเนินการต่อไปดังนี้
                                                                                                                                                                      4.
- เริ่มหลอกเหยื่อโดยใช้หมายเลขที่ไม่มีในสารบบ เช่น มีเครื่องหมายบวกอยู่ด้านหน้า หรือเป็นหมายเลขที่ไม่โชว์เบอร์
- คนร้ายจะใช้เสียงพูดที่บันทึกเสียงสุภาพสตรีหรือสุภาพบุรุษเลียนแบบทางธนาคาร
- คนร้ายจะพูดหลอกลวงเหยื่อ เช่น ท่านมีหนี้ค้างบัตรเครดิตของธนาคาร100,000 บาท ฟังซ้ำกด 1 ภาษาอังกฤษกด 2 ติดต่อเจ้าหน้าที่กด 9
- เมื่อเหยื่อกด 9 จะมีคนร้ายอีกหนึ่งคนพูดจาไพเราะว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ เพิ่งได้รับโอนสายจากคอลล์เซ็นเตอร์ ไม่ทราบรายละเอียด กรุณาแจ้งชื่อ สกุล เลขบัตรประชาชน อายุ ที่อยู่ เบอร์ที่ทำงาน เลขบัญชีและเลขบัตรเครดิตหากท่านมี จากนั้นจะหว่านล้อมอย่างรวดเร็วถึงวิธีการระงับหนี้แบบเร่งด่วนโดยโอนสายไป ยังคนร้ายอีกคน
- คนร้ายคนที่สามจะดำเนินการหลอกเหยื่อโดยแนะนำตนเองว่าเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่าย กฎหมาย และเร่งรัดหรือประนอมหนี้ธนาคาร ซึ่งพูดจารวดเร็วหว่านล้อมให้รีบระงับหนี้โดยทำธุรกรรมทางโทรศัพท์ หากต้องการให้กดตามที่คนร้ายบอก หรือรีบไปที่ตู้เอทีเอ็ม จากนั้นคนร้ายจะให้เลือกเมนูภาษาอังกฤษ และหลอกให้ผู้เสียหายปฏิบัติตามจนเสร็จสิ้นและวางหูไป ช่วงนี้ผู้เสียหายถึงมีเวลาคิดจึงรู้ว่าถูกหลอก
แต่หากหลอกเหยื่อให้โอนเงินไม่ได้ กลุ่มคนร้ายก็ได้ข้อมูลของเหยื่อไป


                                                                                                                                                             5.
วิธีรับมือ คอลล์เซ็นเตอร์ หลอกเงินทาง ATM
1.ตรวจสอบหมายเลขที่โทรมาก่อนว่าเป็นหมายเลขของใครรู้จักหรือไม่  ถ้าไม่รู้จักก็วางสาย
2.หากเป็นหมายเลขลักษณะ +56459876 ต้องสงสัยไว้ก่อน
3.หากเป็นหมายเลข ไม่โชว์เบอร์ กดทิ้งทันที
4.ถ้ารับ อย่าบอกรายละเอียดใดๆ ทั้งสิ้น ให้พยายามเป็นผู้ถามและฟังน้ำเสียง ส่วนมากคนร้ายพอถูกถามถึง รายละเอียด ทุกรายเริ่มลังเล
5.หากยังสงสัยให้รีบวางหู
6.ห้ามสนทนารายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวกับหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลที่ ไม่รู้จักโดยเด็ดขาด 
7.อย่าหลงเชื่อว่าเราได้รับรางวัลใดๆ เพราะมันไม่มีอยู่จริง ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ

         วิธีที่ดีที่สุดคือ......อย่าคุยโทรศัพท์ขณะอยู่ที่หน้าตู้  ATM



                                                                                 www.bandermjao.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น