บ้านเดิมเจ้า

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคจิตเวช ผู้ป่วย ญาติ ชุมชนต้องร่วมรับผิดชอบ


โรคทางจิตเวช

พญ.น้ำทิพย์  ทับทิมทอง  (จิตแพทย์)


โรคจิตเวชหมายถึง โรคที่มีอาการเด่นในเรื่องความรู้สึกนึกคิด การรับรู้ ใจคออารมณ์ หรือพฤติกรรม ผิดไปจากมนุษย์โดยเฉลี่ยที่เขาเป็นเขามีกัน จนทำให้คนๆนั้นไม่อาจใช้ชีวิต ทำงาน หรือเรียนได้อย่างที่เคย

 อาการของปัญหาจิตใจและอารมณ์
1.                       อาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง มีปัญหาในการนอน แขนขาชา ใจเต้นเร็ว เหนื่อยอ่อนเพลียไม่มีแรง
2.                       อาการทางจิตใจ เช่น เครียด กังวล ซึมเศร้า ท้อแท้ หมดหวัง สับสนฟุ้งซ่าน เซ็ง กลัว ระแวง อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย คิดฆ่าตัวตาย
3.                       อาการทางพฤติกรรม เช่น ซึม เฉยเมย กระสับกระส่ายไม่อยู่นิ่ง ก้าวร้าว พูดหรือยิ้ม คนเดียว ไม่สนใจตนเองและสิ่งแวดล้อม เดินเรื่อยเปื่อยไม่มีจุดหมาย ติดเหล้า ติดยา
4.                                   
อะไรคือโรคจิตเภท
โรคจิตเภทเป็น โรคๆหนึ่งในหลายๆโรคของโรคทางจิตเวชภาวะความเจ็บป่วยอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยที่ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรม ความคิด แตกต่างจากบุคคลทั่วไปอย่างมาก อาการที่พบได้ในภาวะความเจ็บป่วยของโรคนี้ ได้แก่
มองโลกผิดไปจากความเป็นจริง   ผู้ป่วยโรคจิตเภทมักมองโลกผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งแตกต่างจากคนทั่วๆไป ผู้ป่วยอาจจะมีอาการวิตกกังวล รู้สึกสับสน อาจจะดูเหินห่าง แยกตัวจากสังคม บางครั้งอาจนั่งนิ่งเป็นหิน ไม่เคลื่อนไหวและไม่พูดจาใดๆ เป็นชั่วโมงๆ  หรืออาจเคลื่อนไหวช้า ทำอะไรช้าๆ   ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมแปลกๆ อยู่ตลอดเวลา
ประสาทหลอน   ผู้ป่วยอาจคิดว่ามีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ความจริงไม่มีสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น เช่น ได้ยินเสียงคนมาสั่งให้ตนทำโน่นทำนี่ ได้ยินคนมาพูดคุยกับตน มาเตือน หรือมาตำหนิในเรื่องต่างๆ ทั้งๆ ที่ความจริงไม่มีคนพูดหรือไม่มีต้นกำเนิดเสียงเหล่านี้เลย ซึ่งเราเรียกอาการนี้ว่า "หูแว่ว"      ผู้ป่วยบางคนอาจมองเห็นคน ผี หรือสิ่งของต่างๆ  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีสิ่งเหล่านี้และไม่มีใครเห็นเหมือนผู้ป่วย เราเรียกอาการนี้ว่า "เห็นภาพหลอน"
ความคิดหลงผิด   ความคิดหลงผิดเป็นความเชื่อของผู้ป่วยที่ผิดไปจากความเป็นจริงและไม่ได้เป็นความเชื่อในวัฒนธรรมของผู้ป่วย ซึ่งความคิดหลงผิดในผู้ป่วยจิตเภทนี้มักจะแปลกประหลาดมาก เช่น เชื่อว่าพฤติกรรมของเขาหรือของคนอื่นๆถูกบังคับให้เป็นไปด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากต่างดาว เชื่อว่าความคิดของตนแพร่กระจายออกไปให้คนอื่นๆที่ไม่รู้จักรับรู้ได้ว่าตนคิดอะไรอยู่ หรือเชื่อว่าวิทยุหรือโทรทัศน์ต่างก็พูดถึงตัวผู้ป่วยทั้งๆที่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ความคิดผิดปกติ  ผู้ป่วยจะไม่สามารถคิดแบบมีเหตุมีผลได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยพูดคุยกับคนอื่นไม่ค่อยเข้าใจ เมื่อคนอื่นคุยกับผู้ป่วยไม่ค่อยเข้าใจก็มักจะไม่ค่อยคุยด้วย ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยถูกแยกให้อยู่คนเดียว
การแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม  ผู้ป่วยมักจะแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสมกับเรื่องที่กำลังพูด เช่น พูดว่าตนกำลังถูกปองร้ายจะถูกเอาชีวิต ซึ่งขณะพูดก็หัวเราะอย่างตลกขบขัน (โดยไม่ใช่คนปกติที่ต้องการทำมุขตลก) พบได้บ่อยเช่นกันที่ผู้ป่วยจิตเภทจะไม่ค่อยแสดงสีหน้า หรือความรู้สึกใดๆ รวมทั้งการพูดจาก็จะใช้เสียงระดับเดียวกันตลอด ไม่แสดงน้ำเสียงใดๆ (monotone)  ซึ่งอาการของผู้ป่วยจิตเภทนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื้อรัง มีบ้างในบางคนที่มีอาการเพียงช่วงเวลาสั้นๆและสามารถหายเป็นปกติได้ แต่ก็มักต้องการการรักษาที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเหมือนๆ กัน
ในเรื่องของการฆ่าตัวตาย  การฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่เป็นอันตรายมากสำหรับผู้ป่วยจิตเภท ถ้าผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายหรือมีการวางแผนที่จะทำอย่างนั้น ควรจะต้องให้การช่วยเหลืออย่างรีบด่วน เพราะผู้ป่วยจิตเภทมีการฆ่าตัวตายสูง
จะเห็นว่าอาการของคนป่วยโรคจิต หรือที่เรียกกันว่าคนบ้า นั้นต่างจากพวกเราและคนทั่วไปมากในขณะที่อาการของคนที่ไม่ได้บ้านั้นมีหลายอย่างที่บางครั้งเราเองก็เคยเป็นแต่ก็ไม่ได้มาพบจิตแพทย์ นั่นเป็นเพราะอาการของโรคทางจิตเวชที่ไม่ได้ "บ้านั้นเป็นอาการที่คนทั่วไปก็เป็นได้แต่ไม่รุนแรงมาก แต่ถ้าเราเกิดอาการต่างๆนี้มากจน
1.      รู้สึกเป็นทุกข์ทรมาณมาก (distressed)
2.      เสียงานเสียการ (dysfunction)
3.      ให้เราต้องทำอะไรที่อาจเกิดผลร้ายตามมา (maladaptive เช่น ทำร้ายตนเอง ทำลายข้าวของ เสพยาเสพติด
แบบนี้เราจึงจะจัดว่าสุขภาพจิตไม่ดี ป่วยทางจิตเวชแล้ว และแม้จะเป็นการป่วยที่ยังไม่ "บ้าแต่ก็ควรพบจิตแพทย์

สาเหตุของปัญหาจิตใจและอารมณ์    อาจเกิดจากความผิดปกติของ
·                               ด้านร่างกาย : โรคทางกาย โรคสมอง ความพิการ พันธุกรรม
·                               ด้านจิตใจ : ลักษณะบุคลิกภาพ การพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจ
·                               ด้านสิ่งแวดล้อม : สภาพสังคม วัฒนธรรม ครอบครัว เศรษฐกิจ

เมื่อไรจึงควรไปพบจิตแพทย์
เมื่อมีใครบอกว่าเราควรไปพบจิตแพทย์เรามักเป็นเดือดเป็นร้อนเพราะบังอาจมาหาว่าเราบ้าหรือนี่ แต่ในความเป็นจริงผู้ป่วยที่มาพบจิตแพทย์ส่วนใหญ่ไม่ได้ "บ้าโดยเฉพาะในปัจจุบันจะมีผู้ป่วยคนไทยเดินเข้ามาขอพบจิตแพทย์เองเป็นจำนวนมากเพราะผู้คนมีการศึกษาดีขึ้น

 ปัญหาที่ทำให้ต้องมาพบจิตแพทย์โดยไม่ได้เป็นบ้าได้แก่
-          มีเรื่องกลุ้มใจคิดไม่ตก ทำให้เครียด ปวดหัว นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย
-       อยู่ๆก็เกิดอาการเบื่อหน่าย ท้อแท้ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย อยากตาย โดยที่ไม่ได้มีเหตุการณ์อะไรมาทำให้เครียด
-       เกิดอาการใจสั่น หายใจไม่ทัน กลัวตายขึ้นมาเฉยๆทั้งๆที่ไม่มีอะไรน่ากลัวเกิดขึ้น ไปหาหมอทีไรก็ตรวจไม่พบความผิดปกติ
-          กลัวความสูง กลัวลิฟท์ กลัวแมลงสาบ ประหม่ากลัวคนมอง
-       ย้ำคิดย้ำทำ ปิดประตูแล้วต้องดูซ้ำๆหลายๆเที่ยว หรือกลัวความสกปรก ล้างมือตั้งหลายเที่ยวก็ยังรู้สึกไม่สะอาดอยู่ดี
-          เป็นคนอมทุกข์ หาความสุขไม่ค่อยได้ ทั้งๆที่อะไรๆก็เพียบพร้อม
-          คบกับใครไม่ได้นาน จะต้องมีปัญหาร่ำไป และมักเป็นปัญหาคล้ายๆกันซ้ำๆ

มาพบจิตแพทย์แล้วจิตแพทย์ทำอย่างไร ?
การพบจิตแพทย์ก็คล้ายๆกับพบแพทย์ทั่วๆไป  จะมีการถามประวัติความไม่สบายที่ต้องมาพบแพทย์และมีการตรวจสภาพจิต และอาจตรวจร่างกายด้วยถ้าแพทย์คิดว่ามีอะไรที่จะต้องตรวจดู   แพทย์จะถามประวัติเกี่ยวกับอาการทางร่างกายที่เกิดขึ้น เช่น ปวดหัว เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เรี่ยวแรงไม่ค่อยมี นอนหลับยาก ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อยาก ฯลฯ   ประวัติเกี่ยวกับอาการทางจิตใจ เช่น หงุดหงิด โมโหง่าย ร้องไห้ง่าย คิดอะไรซ้ำๆวนเวียน หรือความคิดไม่แล่นคิดอะไรไม่ออก ฯลฯ
นอกจากนี้แพทย์จะถามถึงความเป็นอยู่เช่น เป็นใคร ทำอาชีพอะไร บ้านอยู่ไหน แต่งงานแต่งการหรือยัง มีลูกกี่คน ถามถึงว่าช่วงนี้มีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ ทั้งที่ดี และที่ไม่ดี และผู้ป่วยรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนั้นและทำอย่างไรไป ถามประวัติส่วนตัวในอดีตเช่น พ่อแม่ทำอาชีพอะไร ชีวิตวัยเด็กเป็นอย่างไร ฯลฯ เพื่อจะได้เข้าใจว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญนั้นขึ้นทำไมผู้ป่วยจึงตัดสินใจทำแบบนั้น หรือทำไมจึงเกิดความรู้สึกแบบนั้น
ในการตรวจสภาพจิต จิตแพทย์จะดูตั้งแต่ท่าทาง การแต่งเนื้อแต่งตัว การพูดจา เพราะแค่นี้ก็พอบอกอะไรได้ตั้งหลายอย่างแล้ว เช่น คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักไม่ค่อยแต่งตัวไม่ค่อยแต่งหน้า คนที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำอาจจดที่หมอพูดทุกคำหรืออัดเทปไว้ด้วย คนที่เป็นโรคอารมณ์ดีผิดปกติมักพูดมาก เสียงดัง พูดไปหัวเราะไป คนที่เป็นโรคจิตคุยไปอาจต้องเอานิ้วมาทัดหูไปเพื่อเป็นเสาอากาศไว้ส่งกระแสจิต ฯลฯ นอกจากนี้แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างเพื่อตรวจดูความคิด ความจำ สมาธิ การตัดสินใจของผู้ป่วยด้วยเช่น ให้จำของ 3 อย่าง ให้ทำ 100-7 ถามคำพังเพย ฯลฯ และเมื่อได้ข้องมูลมากพอจิตแพทย์จะเริ่มให้การรักษา  

แล้วผู้ป่วยต้องทำอย่างไรบ้าง ?
สิ่งที่เราต้องทำเมื่อพบจิตแพทย์คือเล่าปัญหาให้แพทย์ฟัง ทั้งอาการไม่สบายที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ทำให้เราเครียด ชีวิตส่วนตัวทั้งในปัจจุบันและในอดีต สิ่งต่างๆเหล่านี้แพทย์จะค่อยๆถามให้ผู้ป่วยเล่าออกมาได้เองโดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้อง "ท่องมาหรือ "เรียบเรียงเอาไว้ก่อน ผู้ป่วยเพียงแต่เล่าตามที่แพทย์ถามเท่าที่จะเล่าได้ เรื่องที่ลำบากใจยังไม่อยากเล่าก็เก็บไว้ก่อน เอาไว้พร้อมที่จะเล่าแล้วค่อยเล่าก็ได้จิตแพทย์จะไม่คาดคั้นเอาให้ไ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น